การปฏิบัติต่อแรงงานและการเคารพสิทธิมนุษยชน


การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม และการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการขั้นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจที่ เซ็นทรัล รีเทล ให้ความสำคัญ ตั้งแต่การส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียม รวมทั้งสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดรับต่อความคิดเห็นและความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อยกระดับสิทธิพื้นฐานและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสังคม รวมถึงการลดความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน
แนวทางการบริหารจัดการ
เซ็นทรัล รีเทลดำเนินงานภายใต้นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานซึ่งสอดคล้องตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization: ILO) และกฎหมายแรงงานของประเทศ ครอบคลุมการดำเนินงานตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทลได้มีการจัดการฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติ และการคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับพนักงานในทุกระดับเพื่อสร้างความเข้าใจถึงหลักการ และวิธีปฏิบัติและร้องเรียนเมื่อพบเห็นเหตุการณ์ เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เคารพสิทธิมนุษยชน และสนับสนุนความหลากหลาย

การดึงดูดและดูแลรักษาพนักงาน
นอกเหนือจากการเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมแล้ว เซ็นทรัล รีเทลได้กำหนดค่านิยม I-CARE เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างและให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย เป็นการดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถให้อยากสมัครเข้ามาทำงานร่วมกับเซ็นทรัล รีเทลและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงานในปัจจุบัน





เซ็นทรัล รีเทล ได้กำหนดกลยุทธ์การดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถซึ่งมีฐานมาจากการเคารพสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม และสร้างสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมในการทำงานให้มีความท้าทาย และเปิดกว้างต่อความหลากหลายและแตกต่าง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กลยุทธ์ในการดึงดูดและ ดูแลรักษาพนักงาน | แนวทางการดำเนินงาน |
---|---|
อาชีพ | กลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมจะช่วยดึงดูดพนักงานที่หลากหลายให้เข้ามาร่วมงานกับเซ็นทรัล รีเทล |
โอกาส | เซ็นทรัล รีเทลถือเป็นองค์กรระดับโลกที่มีธุรกิจในหลายประเทศ เป็นจุดเด่นในการดึงดูดพนักงานจากทั่วทุกมุมโลก |
ความท้าทาย | การดำเนินงานในสภาพแวดล้อมที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงจะดึงดูดคนรุ่นใหม่ และพนักงานที่ชอบความท้าทาย |
การเติบโต | การทำงานที่ท้าทาย และการจัดหลักสูตรอบรมที่ทันสมัยจะช่วยดึงดูดบุคลากรที่รักการเรียนรู้และมุ่งพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ภายใต้นโยบายการสืบทอดตำแหน่ง |
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน | สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างจะช่วยดึงดูดคนรุ่นใหม่ และพนักงานที่แตกต่าง |
ภายใต้ค่านิยมองค์กร I-CARE เซ็นทรัล รีเทลได้กำหนดให้พนักงานทุกคนได้รับสวัสดิการด้านประกันชีวิต การดูแลสุขภาพ การลาเลี้ยงดูบุตร และ เงินชดเชยเมื่อเกษียณอายุ และฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบการประเมินสมรรถนะของพนักงานเพื่อกำหนดค่าตอบแทนที่เท่าเทียมและเหมาะสมตามความสามารถของพนักงานแต่ละคน รวมถึงกำหนดให้พนักงานทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอโดยจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานของพนักงานแต่ละคน และจัดทำแผนเตรียมการสืบทอดตำแหน่งให้กับพนักงานที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำรุ่นต่อไปขององค์กร ที่สำคัญเซ็นทรัล รีเทลได้มีการประเมินระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรเป็นประจำ พร้อมปรับปรุงและกำหนดโครงการสนับสนุนพนักงานต่อไปในอนาคต

A Great Place to Work
เซ็นทรัล รีเทล ให้ความสําคัญกับ “บุคลากร” และมุ่งมั่นในการสร้างสภาพแวดล้อมของบริษัทฯ ให้เป็น “A Great Place to Work” โดยดำเนินการป้องกันและคุ้มครองพนักงานทุกระดับไม่ให้ถูกกลั่นแกล้งคุกคามในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคุกคามทางเพศและไม่ใช่การคุกคามทางเพศ รวมถึงการถูกเลือกปฏิบัติ โดยเด็ดขาดในทุกกรณี เพื่อสร้างสถานที่ทำงานที่ยอมรับในความแตกต่างและหลากหลาย
การกํากับดูแลด้านสิทธิมนุษยชน
เซ็นทรัล รีเทล จะดำเนินการป้องกันและคุ้มครองพนักงานทุกระดับไม่ให้ถูกกลั่นแกล้งคุกคามในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคุกคามทางเพศและไม่ใช่การคุกคามทางเพศ รวมถึงถูกเลือกปฏิบัติ โดยเด็ดขาดในทุกกรณี เพื่อสร้างสถานที่ทำงานที่ยอมรับในความแตกต่าง หลากหลาย หากมีเหตุการณ์ที่พนักงานถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดในสถานที่ทำงาน บริษัทจะสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่ยอมให้มีการเลือกปฏิบัติ การล่วงละเมิดทางเพศและไม่ใช่การล่วงละเมิดทางเพศ หรือสถานการณ์ที่พนักงานถูกคุกคามในสถานที่ทำงาน
เซ็นทรัล รีเทล กําหนดกรอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน ตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีซึ่งสอดคล้องกับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่ง (UN Guiding Principle on Business and Human Rights: UNGPs) ครอบคลุมการดําเนินงานทุกพื้นที่ดําเนินการ และทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ ผู้รับเหมา (Contractors) คู่ค้า (Suppliers) และผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Venture) ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

นโยบายสิทธิมนุษยชน และแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับแรงงาน
นโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ กํากับดูแลด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในทุกมิติ อาทิ แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก การจํากัดสิทธิในการรวมกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรอง การจ่ายค่าตอบแทนอย่างไม่เป็นธรรม การให้โอกาสเท่าเทียม ไม่แบ่งแยก หรือเลือกปฏิบัติ กลุ่มเปราะบางที่เกี่ยวข้อง อาทิผู้หญิง เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานข้ามชาติผู้พิการ เพศทางเลือก (LBGTQI+) รวมถึงการต่อต้านการเลือกปฏิบัติและการคุกคามในทุกรูปแบบ และเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว

การฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชน
เซ็นทรัล รีเทลได้มีการจัดการฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติและการคุกคามในรูปแบบต่างๆ ให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อสร้างความเข้าใจถึงหลักการ วิธีปฏิบัติและการร้องเรียนเมื่อพบเห็นเหตุการณ์รวมถึงจัดการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเพื่อระบุประเด็นสําคัญด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
เซ็นทรัล รีเทล ได้กําหนดกรอบการดําเนินงานการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกพื้นที่ดําเนินการ และทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึง พันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ ผู้รับเหมา (Contractors) คู่ค้า (Supplier) และผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Ventures) เพื่อระบุประเด็นสําคัญด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงการขยายธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดจากการควบรวม (Merger) การเข้าซื้อ (Acquisition) กิจการร่วมค้า (Join Venture) โดยระบุประเด็นครอบคลุมในทุกด้าน ได้แก่ แรงงานบังคับ การใช้แรงงานเด็ก สภาพการทํางานและการปฏิบัติด้านแรงงาน เสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรอง เสรีภาพในการแสดงออก การค้ามนุษย์ การได้รับค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียม การเลือกปฏิบัติ สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน การเข้าถึงกระบวนการเยียวยาแก้ไข การละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน และการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
Human Rights Due Diligence report 2022
เซ็นทรัล รีเทล ได้ประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ รวมถึงสอดแทรกนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านการกำหนดความรับผิดชอบอยู่ในระบบการจัดการและหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างเหมาะสม
เซ็นทรัล รีเทล ระบุความเสี่ยงผ่านกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานและกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมด ในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม โดยมีการระบุความเสี่ยงโดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนด้วยตนเองถึงการดำเนินงานและกิจกรรมทางธุรกิจของคู่ค้าหลัก (Key Suppliers) และเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทไม่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ จึงกําหนดให้มีการทบทวนประเด็นสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และติดตามการแก้ไขและเยียวยาความเสี่ยงประเด็นสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
กลุ่มความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการดำเนินการ และกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท
1. ระบุความเสี่ยงและกำหนดกระบวนการลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและลดผลกระทบ
- บูรณาการผลการประเมินความเสี่ยงที่ได้จากทุกพื้นที่การดำเนินการเข้าสู่กระบวนการหารือ และตัดสินใจจากคณะทำงานการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
- รายงานความเสี่ยงที่พบต่อคณะกรรมการความเสี่ยงของบริษัทและบูรณการความเสี่ยงเข้าสู่รายการความเสี่ยงขององค์กร
- ระบุหน่วยงานที่จะรับผิดชอบขั้นตอนต่อไปเพื่อลดหรือบรรเทาความเสี่ยง
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงนั้นๆ ต้องจัดทำแผนบรรเทาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยเน้นที่การลดโอกาสเกิดความเสี่ยง และลดผลกระทบ กำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อบรรเทาความเสี่ยง และแนวทางการเยียวยาในแต่ละประเด็นความเสี่ยง
2. ดำเนินการตามแผนบรรเทาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
- ดำเนินการตามขั้นตอนที่ระบุในแผนงานที่กำหนดขึ้น แก้ไขและเพิ่มกระบวนการระหว่างที่จำเป็นเพื่อให้การบรรเทาความเสี่ยงมีประสิทธิผลสูงสุด
- รายงานความคืบหน้าในการแก้ไข และเยียวยาความเสี่ยงแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
- กำกับดูแล ติดตามและตรวจสอบ การดำเนินการตามแผนบรรเทาความเสี่ยงกับหน่วยธุรกิจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางการสื่อสาร
- รายงานความคืบหน้า ระบุเหตุต้องเฝ้าระวัง ผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริง และอาจจะเกิดขึ้นกับบริษัทฯ ต่อหน่วยงานความยั่งยืน และคณะกรรมการบรรษัทภิบาลฯ เพื่อแจ้งเหตุการณ์และให้คำแนะนำต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการด้านการบรรเทาความเสี่ยงในขั้นตอนต่อไป
3. ดำเนินการตามแผนบรรเทาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
- แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบและผู้บริหารหน่วยงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขและเยียวยา
- ติดตามผลการดำเนินการแก้ไขและเยียวยา
- ปรับแนวทางการแก้ไขและเยียวยา (หากจำเป็น)
- ดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และพูดคุยผลลัพธ์จากการดำเนินการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จนสิ้นสุดกระบวนการและเข้าสู่สภาวะปกติก่อนได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

แนวทางการเยียวยาของบริษัท
เซ็นทรัล รีเทล ได้กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการเยียวยา เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับทุกกลุ่มธุรกิจ และสร้างความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการเยียวยาจะครอบคลุมตั้งแต่ การขอโทษ การชดใช้ค่าเสียหาย การตอบแทนในรูปแบบตัวเงิน การตอบแทนในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน และความช่วยเหลือในการเข้าถึงการเยียวยาด้านอื่นๆ ตามรูปภาพด้านล่าง

การดำเนินการเชิงรุกเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน
- มีคู่มือ กลไกรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งระบุกระบวนการและขั้นตอนในการจัดการเรื่องร้องเรียนอย่างละเอียด ซึ่งพนักงานสามารถเข้าถึงและปฏิบัติตามได้
- หากพบผลกระทบ หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน และมีการร้องเรียนข้อร้องเรียนต่างๆ จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนที่จัดตั้งขึ้น เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง กําหนดความผิด อนุมัติบทลงโทษ บริษัทฯ จะกําหนดมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเป็นรายกรณี
- การสร้างความตระหนักถึงการดําเนินการด้านสิทธิมนุษยชนให้กับพนักงานผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ผู้บริหารระดับสูงส่งสารถึงพนักงานทั้งองค์กร พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม จัดการฝึกอบรม เพิ่มเติมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและแนวปฏิบัติให้ครอบคลุมในทุกระดับ
- ดําเนินมาตรการตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน และแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ตลอดจนรักษามาตรฐานการให้บริการและการทํางาน
- กําหนดแนวทางการทํางานที่เหมาะสมกับบริษัทและสภาพแวดล้อมการทํางานที่เปลี่ยนแปลงไป
ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
กลไกการร้องทุกข์คืออีกช่องทางหนึ่งเพื่อลด จัดการ และติดตามการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทฯ กําหนดนโยบาย การแจ้งเบาะแส และจัดให้มีหลายช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียน สําหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก
แจ้งผ่านช่องทาง อีเมลที่ CRCWhistleblower@central.co.th หรือ ไปรณีย์ผ่าน
ในกรณีผู้ร้องเรียน มีข้อเรียกร้องประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้ส่งเรื่องร้องเรียนมายังประธานกรรมการตรวจสอบโดยตรงผ่านช่องทางอีเมลของประธานกรรมการตรวจสอบที่ AuditChairman@central.co.th หรือ ไปรณีย์ผ่าน
