เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดทำกระบวนการกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เพื่อให้สามารถเข้าใจเชิงลึกถึงบริบททางธุรกิจและห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ รวมถึงการสร้างศักยภาพในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการดังกล่าวมีการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ครอบคลุมและสอดคล้องต่อบริบทและแนวโน้มของสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

กระบวนการกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

1
การศึกษาบริบทด้านความยั่งยืนขององค์กร
2
การระบุประเด็นด้านความยั่งยืน
3
การประเมินระดับความความสำคัญ ของประเด็นด้านความยั่งยืน
4
การจัดลำดับ ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

1. การศึกษาบริบทด้านความยั่งยืนขององค์กร

เซ็นทรัล รีเทล ศึกษาบริบทด้านความยั่งยืนขององค์กรผ่านการวิเคราะห์กิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่า และความเชื่อมโยงของห่วงโซ่คุณค่ากับผู้มีส่วนได้เสียหลักของบริษัทฯ ทั้ง 7 กลุ่มได้แก่ พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม นอกจากนี้ บริษัทฯ ศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานสากลและแนวโน้มด้านความยั่งยืนระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับของธุรกิจค้าปลีกเพื่อให้มีความเข้าใจถึงบริบทด้านความยั่งยืนมากขึ้น และคำนึงถึงข้อคิดเห็นเบื้องต้นของผู้มีส่วนได้เสียที่รวบรวมจากการมีส่วนร่วมผ่านหลากหลายช่องทางการสื่อสารของบริษัทฯ

2. การระบุผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืน

เซ็นทรัล รีเทล ได้ระบุประเด็นด้านความยั่งยืนผ่านการวิเคราะห์ถึงผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในอนาคต บริษัทฯ ได้ประยุกต์นำกรอบแนวคิด COSO Enterprise Risk Management 2017 (COSO ERM 2017) หลัก UN Guiding Principles on Business and Human Rights และนำมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนมาใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบที่ครอบคลุมประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยการระบุผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืนนี้ได้ถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการประเมินความเสี่ยงขององค์กร

3. การประเมินระดับความสำคัญของผลกระทบจากประเด็นด้านความยั่งยืน

เซ็นทรัล รีเทล ประเมินระดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืนผ่านการสำรวจความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียต่อผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืนแต่ละประเด็น โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของผลกระทบได้แก่ ความรุนแรง (Scale of Impact) ขอบเขต (Scope of Impact) โอกาสที่จะเกิด (Likelihood of Impact) และความยากต่อการเยียวยาฟื้นฟู (Irremediable Nature of Impact) และได้แบ่งระดับความสำคัญของผลกระทบออกเป็น 4 ระดับได้แก่ สูงมาก (Very High) สูง (High) ปานกลาง (Medium) และน้อย (Low) นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ทำการทบทวนและทดสอบประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญรวมถึงมาตรฐานอย่าง Global Reporting Initiative (GRI) รายงานของหลากหลายองค์กร และดัชนีด้านความยั่งยืน ซึ่งล้วนแล้วอยู่ในระดับสากล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการประเมินมีความครบถ้วน และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

4. การจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

เซ็นทรัล รีเทล ได้นำประเด็นด้านความยั่งยืนมาจัดลำดับความสำคัญเพื่อสรุป และนำเสนอผลการจัดลำดับความสำคัญต่อคณะกรรมการบริษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และกรรมการบริษัท เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและสอดคล้องต่อบริบทและกลยุุทธ์ของบริษัท พร้อมทั้งเพื่อพิจารณาความเห็นชอบจากกรรมการบริษัทในการกำหนดเป็นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนปี 2565

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน SDGs
นวัตกรรม
การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ
การพัฒนาศักยภาพพนักงาน
การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์และแบรนด์
การบริหารจัดการทรัพยากร
การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความมั่นคงทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ
การปฏิบัติต่อแรงงานและการเคารพสิทธิมนุษยชน
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การบริหารจัดการความเสี่ยงและการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือวิกฤต

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลกระทบ

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะยาวอาจส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างน้ำท่วม พายุฝน หรือ น้ำแล้ง เพิ่มความรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และชุมชนโดยรอบ รวมทั้งอาจสูญเสียความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม

การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

ผลกระทบ

การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบจะช่วยป้องกันความเสื่อมโทรมของความหลากหลายทางชีวภาพและป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนโดยรอบ สินค้าและบริการที่ได้จากการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบสามารถส่งเสริมสุขภาพที่ดีและตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม

การบริหารจัดการทรัพยากร

ผลกระทบ

การลดการใช้ทรัพยากรอย่างการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นสินค้ามูลค่าเพิ่ม เป็นการลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกระบวนการผลิต ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน และเพิ่มการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้า

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม

เซ็นทรัล รีเทล ตระหนักถึงความสำคัญในการมอบหมายผู้รับผิดชอบ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ บริษัทฯ จึงได้มีการระบุประเด็นสาระสำคัญ และกำหนดตัวชี้วัดการทำงานให้กับผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความต่อเนื่องและสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน ซึ่งได้ถูกถ่ายทอดผ่านกลยุทธ์ ReNEW เพื่อเสริมการพัฒนาด้านความยั่งยืนกับการเติบโตของธุรกิจ

ทั้งนี้ เซ็นทรัล รีเทล มีการวัดผลจากกิจกรรมและการพัฒนาด้านความยั่งยืนสอดคล้องตามประเด็นสาระสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ พร้อมทั้งยังนำผลลัพธ์จากกิจกรรมและการพัฒนาดังกล่าวไปประเมินผลงานประจำปีตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดให้กับผู้บริหาร

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เป้าหมาย ปี 2564 เป้าหมายปี 2573 KPIs ของผู้บริหาร ประเภทค่าตอบแทน
การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน 1,500 ล้านบาทต่อปี สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน 5,400 ล้านบาทต่อปี ขยายการสนับสนุนชุมชนและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ค่าตอบแทน
การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ระดับความพึงพอใจร้อยละ 90 สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ระดับความพึงพอใจร้อยละ 95 สร้างประสบการณ์และมอบการบริการที่ดีให้กับลูกค้า ค่าตอบแทน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขต 1 และ 2) ร้อยละ 4 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขต 1 และ 2) ร้อยละ 30
  • เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน
  • พัฒนาโปรแกรมลดการใช้พลังงาน
ค่าตอบแทน

การพัฒนาศักยภาพพนักงาน

ผลกระทบ

การส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาทักษะใหม่ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น ทักษะการตลาดและการขายผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นต้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและศักยภาพของพนักงาน

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า และหน่วยงานภาครัฐ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ผลกระทบ

การไม่ให้ความสำคัญกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจะสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบิตเหตุหรืออันตรายในห้างสรรพสินค้า จนอาจทำให้การดำเนินงานเกิดความขัดข้อง และสูญเสียความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม

การปฏิบัติต่อแรงงาน และการเคารพสิทธิมนุษยชน

ผลกระทบ

การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างไม่เป็นธรรมและการละเมิดสิทธิมนุุษยชน อาจส่งผลให้เกิดการร้องเรียนต่อหน่วยงานกำกับดูแล จนส่งผลให้เกิดการขัดข้องในธุรกิจ และสร้างความเสียหายต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม

การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

ผลกระทบ

การช่วยสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้มีมูลค่าสูงขึ้นของบริษัทฯ โดยการสนับสนุนด้านความรู้ ทักษะการขาย และช่องทางจัดจำหน่าย จะส่งผลให้ชุมชนมีรายได้เพิ่ม และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบริษัทฯ

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น ลูกค้า หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ผลกระทบ

หากไม่มีการประเมินความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทาน กิจกรรมของคู่ค้าทางธุรกิจอาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมจนอาจเกิดการร้องเรียนต่อหน่วยงานกำกับดูแล และส่งให้เกิดความล่าช้าในห่วงโซ่อุปทาน และสูญเสียความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า และหน่วยงานภาครัฐ

ความมั่นคงทางไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ผลกระทบ

ระบบความมั่นคงทางไซเบอรที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจเปิดโอกาสให้บริษัทฯ ตกเป็นเป้าของการโจมตีทางไซเบอร์จนอาจเกิดการหยุดชะงักของธุรกิจ และการรั่วไหลของข้อมูลบุคคล จนอาจนำไปสู่การดำเนินการทางกฎหมาย และสูญเสียความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า และหน่วยงานภาครัฐ

นวัตกรรม

ผลกระทบ

การสนับสนุนและส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในธุรกิจ อาทิ การพัฒนาแอพพลิเคชั่นออนไลน์ และการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงาน จะช่วยพัฒนาคุณภาพการบริการลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงาน

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม

การบริหารจัดกาลูกค้าสัมพันธ์ และแบรนด์

ผลกระทบ

การพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า และการพัฒนาแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการให้บริการที่ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าจะส่งผลให้ลูกค้าเกิดความภักดีต่อแบรนด์ และส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม

การกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ

ผลกระทบ

การกำกับดูแลกิจการที่ไม่มีประสิทธิภาพ และขาดจรรยาบรรณธุรกิจอาจส่งผลให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นและความไม่โปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ และอาจเกิดการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียจะเกิดการสูญเสียความเชื่อมั่น

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม

การบริหารจัดการความเสี่ยง และการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือวิกฤต

ผลกระทบ

การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการสื่อสารและจัดอบรมด้านการจัดการความเสี่ยงให้กับพนักงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาจส่งผลให้บริษัทฯ ไม่สามารถรับมือต่อความเสี่ยงและวิกฤติจนเกิดการขัดข้องหรือหยุดชะงักของธุรกิจ และสูญเสียความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนและสังคม