การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ความท้าทาย และโอกาส
การดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนช่วยลดความเสี่ยงด้านกฎหมายและข้อร้องเรียนต่าง ๆ เช่น การจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม การใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับ ซึ่งหากเกิดขึ้นอาจนำไปสู่ค่าปรับ การฟ้องร้อง และการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและเป็นธรรม ซึ่งรวมถึงการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม การให้สวัสดิการที่เพียงพอ และการส่งเสริมความเท่าเทียมในสถานที่ทำงาน ช่วยเพิ่มความผูกพันและประสิทธิภาพของพนักงาน ลดอัตราการลาออก และดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ การส่งเสริมให้พันธมิตรทางธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางด้านสิทธิมนุษยชนยังช่วยเสริมสร้างความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายร่วมกันและยกระดับมาตรฐานในห่วงโซ่อุปทาน
นอกจากสิทธิแรงงานแล้ว สิทธิมนุษยชนยังครอบคลุมถึงสิทธิของชุมชนและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมพลังงานสะอาด การลดมลภาวะ และการจัดการของเสียอย่างมีความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติเหล่านี้ช่วยลดผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของประชาชน ลดความขัดแย้งทางกฎหมายและการต่อต้านจากภาคประชาสังคม ตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ซึ่งส่งผลดีต่อภาพลักษณ์องค์กรและสร้างความไว้วางใจให้แก่ลูกค้า นักลงทุน และพันธมิตรทางธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อแนวปฏิบัติที่ยั่งยืน
เซ็นทรัล รีเทล ให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยดำเนินธุรกิจตามหลักจรรยาบรรณองค์กร กฎหมาย ข้อบังคับ และการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของเซ็นทรัล รีเทล เน้นย้ำถึงการต่อต้านการเลือกปฏิบัติและการคุกคามในทุกรูปแบบ พร้อมมุ่งมั่นปกป้องพนักงานทุกระดับจากการเลือกปฏิบัติ การข่มขู่ และการล่วงละเมิดทั้งทางเพศและในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมองค์กรที่มีความหลากหลายและเกื้อกูลกัน
นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ได้ดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ทั้งที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจเกิดขึ้น โดยครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด พร้อมดำเนินมาตรการเชิงรุกและแนวทางแก้ไขที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการบริหารจัดการ
โครงสร้างการกำกับดูแลด้านสิทธิมนุษยชน
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของ เซ็นทรัล รีเทล สอดคล้องกับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs) โดยครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดและให้ความสำคัญกับประเด็นต่าง ๆ เช่น การบังคับใช้แรงงาน การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก การจำกัดสิทธิในการรวมกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรอง การจ่ายค่าตอบแทนอย่างไม่เป็นธรรม รวมถึงการเลือกปฏิบัติและการถูกคุกคามในทุกรูปแบบ ในระดับบริหาร คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน มีหน้าที่กำกับดูแลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRA) และการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) ตลอดจนทบทวนและรับรองนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง การจัดการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายบริหารความเสี่ยง ฝ่ายการพัฒนาความยั่งยืน และฝ่ายการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการประสานงานกับหน่วยธุรกิจต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยวัฒนธรรมองค์กรของเซ็นทรัล รีเทล สนับสนุนหลักการสิทธิมนุษยชน ห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติและการคุกคามในทุกรูปแบบอย่างชัดเจน และสื่อสารหลักการเหล่านี้ผ่านการฝึกอบรมต่าง ๆ
โครงสร้าง | หน้าที่และความรับผิดชอบ |
---|---|
Board-Level
|
|
Corporate-Level
|
|
Business Units-Level
|
|
พนักงานและคู่ค้า |
|
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRA) และการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD)
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRA) ดำเนินการทุก ๆ สองปี เพื่อติดตาม ระบุ จัดลำดับความสำคัญ บรรเทา และแก้ไขความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ กระบวนการนี้ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจที่มีอยู่ของเซ็นทรัล รีเทล รวมถึงการดำเนินธุรกิจใหม่ที่เกิดจากการเติบโตทางธุรกิจ การควบรวมและซื้อกิจการ และกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพันธมิตรทางธุรกิจ ผู้รับเหมา คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่า
ผู้มีส่วนได้เสียที่ครอบคลุมการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRA) ได้แก่ พนักงาน ชุมชน คู่ค้า ผู้รับเหมา ลูกค้า แรงงานที่จัดหามา พนักงานที่ได้รับการว่าจ้างจากบุคคลที่สาม แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิง เด็ก ชนเผ่าพื้นเมือง แรงงานข้ามชาติ ผู้พิการ และบุคคลกลุ่ม LGBTQI+ โดยมีการประเมินความเสี่ยงต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ รวมถึงแรงงานบังคับ แรงงานเด็ก สภาพการทำงาน และแนวปฏิบัติด้านแรงงาน เสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรอง เสรีภาพในการแสดงออก การค้ามนุษย์ ค่าชดเชยที่เท่าเทียมกัน โอกาสที่เท่าเทียมกันและการเลือกปฏิบัติ สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน การเข้าถึงการเยียวยา การละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน และการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
เมื่อเริ่มกระบวนการ HRRA เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่าแนวคิดการเคารพสิทธิมนุษยชนจะถูกบูรณาการเข้ากับการดำเนินธุรกิจ และช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการ HRRA ผ่านการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) โดยระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจเกิดขึ้น และกำหนดระดับของผลกระทบ เซ็นทรัล รีเทล ริเริ่มโครงการ HRDD ในปี 2565 และตั้งแต่นั้นมาก็ได้ติดตามความเสี่ยงที่ได้ระบุไว้เป็นประจำทุกไตรมาส ครอบคลุมทั้ง 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ อาหาร แฟชั่น ฮาร์ดไลน์ พร็อพเพอร์ตี และ เฮลธ์ แอนด์ เวลเนส นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังทำงานร่วมกับคู่ค้าหลักในการส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและดูแลผู้ได้รับผลกระทบให้ได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม
รายงานผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ประเด็นสำคัญ | ขอบเขต | การควบคุมดูแล |
---|---|---|
ความเสี่ยงจากพื้นที่การดำเนินกิจกรรมของบริษัทฯ | ||
สุขภาพและความปลอดภัยสำหรับพนักงานกลุ่มธุรกิจ Food และ Property
|
กลุ่มธุรกิจ Food และ Property ในประเทศไทยและเวียดนาม |
|
ความเสี่ยงจากคู่ค้า | ||
ไม่พบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากคู่ค้า |
ผลการดำเนินการในปี 2567 | การบรรเทาผลกระทบและการดำเนินการแก้ไข |
---|---|
ความเสี่ยงที่ระบุอยู่ในระดับต่ำ ไม่พบข้อร้องเรียนจากความเสี่ยงที่ระบุไว้ในปีที่ผ่านมา |
|
เซ็นทรัล รีเทล ติดตามผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกรณีที่ได้รับแจ้ง โดยมีการดำเนินการบรรเทาและแก้ไข ในปี 2567 เซ็นทรัล รีเทล ได้ระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และดำเนินการบรรเทาและแก้ไขครอบคลุมการดำเนินงานทั้งหมด ร้อยละ 100 รวมทั้งได้มีการสื่อสารและเปิดเผยต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกเพื่อความโปร่งใส นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังดำเนินโครงการเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ได้แก่
- การใช้ช่องทางการสื่อสารภายในเพื่อให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
- การดำเนินการฝึกอบรมการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD)
- การจัดทำแนวทางการดำเนินการแก้ไขและมาตรการเยียวยาในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- การติดตามประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างใกล้ชิด โดยไม่มีประเด็นสำคัญที่เกิดจากความเสี่ยงที่ระบุในปีที่ผ่านมา
ช่องทางการแจ้งเบาะแสการละเมิดสิทธิมนุษยชน
แจ้งผ่านช่องทางอีเมลที่ CRCWhistleblower@central.co.th หรือไปรษณีย์
หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน บริษัทฯ เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 22 ซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330ในกรณีผู้ร้องเรียนมีข้อเรียกร้องประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้ส่งเรื่องร้องเรียนมายังประธานกรรมการตรวจสอบโดยตรงผ่านช่องทางอีเมลของประธานกรรมการตรวจสอบที่ AuditChairman@central.co.th หรือไปรษณีย์
ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัทฯ เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 22 ซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการเพื่อส่งเสริมให้พนักงานพูดคุย เจรจา หรือหารือเกี่ยวกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อย่างเปิดเผย ในปี 2567 พนักงานร้อยละ 100 ได้รับการคุ้มครองจากคณะกรรมการสวัสดิการ
ความเสี่ยงของการละเมิดสิทธิมนุษยชนมีความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะบริบทเฉพาะที่เกิดจากมิติทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ดังนั้นการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนทั้งที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจเกิดขึ้นควรเป็นการดำเนินการเชิงรุกและครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด รวมถึงมีมาตรการแก้ไขและการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในระดับสากล
โครงการสำคัญ
การปลูกฝังความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน
เซ็นทรัล รีเทล ตระหนักถึงความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนในฐานะรากฐานสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้มีการปลูกฝังความเข้าใจของพนักงานโดยให้ความรู้พนักงานเป็นประจำ โดยมีพนักงานผ่านการอบรมด้านสิทธิมนุษยชนจากการเข้าร่วมโครงการ ESG DNA ของตลาดหลักทรัพย์ โดยมีผู้เข้าอบรมถึง 1,629 คน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับค่านิยมหลักขององค์กร และช่วยสร้างสถานที่ทำงานที่เคารพซึ่งกันและกัน มีความเสมอภาค และเปิดกว้างสำหรับทุกคน รวมถึงส่งเสริมคุณค่าระยะยาวให้กับสังคม ความพยายามของเราในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและผนวกหลักการเหล่านี้เข้าไปในการดำเนินงาน นโยบาย และแนวปฏิบัติขององค์กร เรามุ่งเน้นการปลูกฝังความเคารพในสิทธิมนุษยชนภายในสถานที่ทำงาน โดยการผสานหลักการเหล่านี้เข้าสู่วัฒนธรรมองค์กร และการปฏิบัติในชีวิตประจำวันผ่านการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและการแสดงออกถึงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักการเหล่านี้



รางวัลด้านสิทธิมนุษยชน 2567
เซ็นทรัล รีเทล ได้รับรางวัลดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2567 (ประเภทบริษัทฯ ขนาดใหญ่) จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม โดยได้รับรางวัลติดต่อกัน 2 ปีซ้อน โดยรางวัลนี้ยกย่องความมุ่งมั่นของ เซ็นทรัล รีเทล ในด้านความเท่าเทียมทางสังคม การกำกับดูแล และความยั่งยืน โดยมีการเล็งเห็นความพยายามของบริษัทฯ ในการสร้างความเป็นอยู่ด้านสังคมให้ดีขึ้นและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน อันจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจต่อเนื่องให้ผู้คนพยายามสร้างผลกระทบต่อสังคมที่ยั่งยืนต่อไป

มาตรฐานการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกภายใต้ Universal Design
เซ็นทรัล รีเทล มุ่งส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนบนความหลากหลายโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จึงได้ทำการศึกษาและดำเนินการออกแบบและก่อสร้างอาคารศูนย์การค้าทั้งหมดตามหลักอารยสถาปัตย์ หรือการออกแบบสำหรับทุกคน (Universal Design) ทำให้ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ รวมถึงแม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องคำนึงถึงเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ศูนย์ ฯ และใช้เวลาในศูนย์ได้อย่างไม่มีอุปสรรค ทำให้ศูนย์ฯของเรา เป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ ในการเข้าใช้บริการ ทั้งยังส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์และองค์กรในทางอ้อม โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ประกอบด้วย
- ช่องจอดรถสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ
- ทางเข้าอาคารทุกจุดจะมีทางลาดสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการที่นั่งรถเข็น
- ห้องนํ้าสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการและปุ่มแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
- ลิฟต์โดยสารขนาดมาตรฐาน โดยสามารถนำรถเข็นเข้าได้
- ห้องนํ้าหญิงที่สามารถนำเด็กเล็กเข้าใช้งานพร้อมกันได้
- จุดให้บริการสำหรับแม่เด็กเพื่อเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือล้างทำความสะอาด และห้องให้นมแม่
- จุด Call Point แจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ส่วนกลางของโครงการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือ
