การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

เซ็นทรัล รีเทล มุ่งเน้นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระบบขนส่งและการจัดการคลังสินค้าให้มีความต่อเนื่องและสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ผ่านการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG และส่งเสริมการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของคู่ค้า

สนับสนุนการมีส่วนร่วม กับคู่ค้าหลัก 100%

แนวทางบริหารจัดการ

เซ็นทรัล รีเทลได้กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ Omnichannel เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของบริษัท ฯ โดยมีองค์ประกอบหลักได้แก่ 1) การมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง 2) ความคล่องแคล่ว และ 3) ความได้เปรียบด้านต้นทุน

องค์ประกอบหลัก หลักการดำเนินงาน
การมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ความเป็นเลิศในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการให้ประสบการณ์บริการขนส่งสินค้าที่ดีที่สุด
ความคล่องแคล่ว เพิ่มศักยภาพของห่วงโซ่อุปทานในการปรับตัวต่อแนวโน้มของตลาดที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
ความได้เปรียบด้านต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อที่จะสามารถให้บริการกับลูกค้าได้ในราคาที่ถูกที่สุด

เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดทำและประกาศใช้จรรยาบรรณคู่ค้าที่มุ่งเน้นด้านความยั่งยืนเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับคู่ค้าทุกราย เพื่อให้เกิดความสอดคล้องของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานที่รับผิดชอบในงานจัดซื้อเพื่อบูรณาการความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ได้ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ตามศูนย์กระจายสินค้า และเปลี่ยนยานยนต์สำหรับขนส่งสินค้ามาเป็นระบบไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานแล้ว ยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย ทั้งนี้ เซ็นทรัล รีเทล ให้ความสำคัญในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน จึงตั้งเป้าหมายในการลดอัตราการบาดเจ็บจากการทำงานเพื่อช่วยส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานและคู่ค้า

กระบวนการระบุและประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน

เซ็นทรัล รีเทลได้พัฒนากระบวนการระบุและประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยในระยะเริ่มต้นจะเน้นการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของกลุ่มคู่ค้าหลักลำดับ 1 (Critical Tier 1 Supplier) หรือคู่ค้าที่จัดหาสินค้าและบริการโดยตรงให้กับเซ็นทรัล รีเทลแล้วจึงขยายขอบเขตการประเมินให้ครอบคลุมคู่ค้ารายอื่นต่อไปในอนาคต โดยกระบวนการนี้จะทำเป็นประจำทุกปีเพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าของบริษัทฯ ได้รับการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานและการพัฒนาด้านความยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอ

การคัดกรองและคัดเลือกคู่ค้า

การคัดกรองและคัดเลือกคู่ค้าเป็นขั้นตอนสำคัญในการระบุความเสี่ยงในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน โดยบริษัทฯ ได้กำหนดเกณฑ์ในการคัดกรองคู่ค้า 2 ประเด็นหลัก ดังนี้

  • เกณฑ์ด้านธุรกิจ โดยพิจารณาข้อมูลคู่ค้าในด้านมูลค่าทางธุรกิจที่มีต่อบริษัทฯ
  • เกณฑ์ความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทาน โดยพิจารณาจากความเสี่ยงในด้าน ESG ของคู่ค้าที่ดำเนินงานในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยง กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง หรือ ประเภทของสินค้าที่มีความเสี่ยง รวมทั้งระบบการจัดการด้าน ESG ของคู่ค้า

นอกจากนี้ ยังได้มีระบบการตรวจสอบความเสี่ยงของคู่ค้า จากการค้นหาข้อร้องเรียน ข้อโต้แย้ง หรือการละเมิดต่อกฎหมาย ผ่านแหล่งข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นสาธารณะบนสื่อสังคมออนไลน์

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการคัดกรอง คู่ค้าจะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกซึ่งจะมีการประเมินเพิ่มเติมตามเกณฑ์การดำเนินธุรกิจ เช่น การประเมินความน่าเชื่อถือ คุณภาพสินค้า การส่งมอบสินค้า และผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ และเกณฑ์ด้านความยั่งยืน (ESG) ของบริษัทฯ คู่ค้าที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์จะได้รับพิจารณาคัดเลือกและขึ้นทะเบียน Approved Vendor List : AVL และต้องรับทราบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณคู่ค้าของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯได้กำหนดให้ดำเนินการคัดกรองและคัดเลือกคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอในทุกๆปี

การประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า

คู่ค้าที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการประเมินความเสี่ยงโดยการตอบแบบประเมินคู่ค้าด้านความยั่งยืน (ESG) รวมทั้งแสดงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่บริษัทร้องขอ ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้บริษัทฯ สามารถจัดประเภทความเสี่ยงของคู่ค้าออกเป็นระดับความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงต่ำ คู่ค้าที่มีผลการประเมินในระดับความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงต่ำ จะถูกพิจารณาให้ผ่านการประเมินความเสี่ยงและขึ้นทะเบียน (Approved Vendor List) โดยจะสามารถดำเนินธุรกิจกับบริษัทฯต่อไปได้ ส่วนคู่ค้าที่มีผลการประเมินในระดับความเสี่ยงสูงจะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยง ณ สถานประกอบการ อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น

แผนการแก้ไขปรับปรุง

การประเมินความเสี่ยง ณ สถานประกอบการ จะช่วยระบุความเสี่ยงสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการจัดการด้วยแผนการแก้ไขปรับปรุงที่พัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทฯและคู่ค้า โดยแผนการแก้ไขปรับปรุงทำหน้าที่เป็นแผนงานสำหรับการเดินทางสู่ความยั่งยืนของคู่ค้า ช่วยให้คู่ค้าพัฒนาไปสู่มาตรฐานที่กำหนด และสามารถดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ แผนการแก้ไขปรับปรุงดังกล่าวจะระบุการปฏิบัติงาน ระยะเวลา และความรับผิดชอบเพื่อจัดการกับประเด็นปัญหาที่มีความเสี่ยงสูง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดและแก้ไขความเสี่ยงที่เกิดขี้นจริงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้คู่ค้าจะต้องดำเนินการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดก่อนที่จะมีการติดตามผลการแก้ไขอีกครั้ง

ความสัมพันธ์และการพัฒนาคู่ค้า

การพัฒนาคู่ค้าถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บริษัทฯมั่นใจได้ว่าคู่ค้าทุกรายจะสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดและขับเคลื่อนการพัฒนาด้านความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินการ

คู่ค้าหลักลำดับ 1
12,698
ราย
คู่ค้าหลักลําดับ 1
1,136
ราย
 
คู่ค้าหลักลําดับ 1 เห็นชอบ
100%
 
ยอมรับจรรยาบรรณคู่ค้า และตอบแบบประเมินความเสี่ยง ด้านความยั่งยืนด้วยตนเอง การฝึกอบรมเพิ่มขึ้น