การจัดหาสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบ

ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 100 ภายในปี 2573
ร้านค้าเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 119 ร้านค้า ในปี 2568

ความท้าทาย และโอกาส

การจัดหาสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบถือเป็นกระบวนการสำคัญที่มีความซับซ้อน ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ความโปร่งใสในการตรวจสอบย้อนกลับ รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานสากลต่าง ๆ อีกทั้งการเลือกใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืนและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังอาจส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันผู้บริโภคและนักลงทุนให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น ส่งผลให้ เซ็นทรัล รีเทล ต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันและความน่าเชื่อถือขององค์กร

แม้จะมีความท้าทาย แต่การจัดหาสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบยังเปิดโอกาสทางธุรกิจในระยะยาว การเลือกใช้วัตถุดิบจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมช่วยเสริมสร้างคุณภาพสินค้า เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และยกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์ นอกจากนี้ การคัดเลือกสินค้าที่ได้รับการรับรองด้านความยั่งยืนยังช่วยให้ เซ็นทรัล รีเทล สามารถตอบสนองต่อแนวโน้มของตลาดที่ให้ความสำคัญด้าน ESG ซึ่งนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันและการเติบโตของธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน

เพื่อสนับสนุนแนวทางดังกล่าว เซ็นทรัล รีเทล ได้กำหนดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนและดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและความยั่งยืนในกระบวนการจัดหา รวมถึงให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับผู้ผลิตและคุณสมบัติของสินค้าแก่ลูกค้า อีกทั้งยังคัดเลือกคู่ค้าที่มีแนวปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เซ็นทรัล รีเทล ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดหาสินค้าอย่างมีจริยธรรมและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แนวทางเหล่านี้ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงด้านการละเมิดกฎระเบียบและการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ยังช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่มีความรับผิดชอบ และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

แนวทางการบริหารจัดการ

เซ็นทรัล รีเทล มุ่งมั่นดำเนินการจัดหาสินค้าอย่างรับผิดชอบ โดยบูรณาการหลักความยั่งยืนเข้าไปในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้การจัดหาสินค้าและวัตถุดิบเป็นไปตามหลัก สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG) นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนของเซ็นทรัล รีเทล มุ่งเน้นการประเมินและคัดเลือกคู่ค้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม และการเคารพสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและการตรวจสอบย้อนกลับได้ และการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล โดยกำหนดจรรยาบรรณคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างมีความรับผิดชอบ ทั้งนี้คู่ค้าของเซ็นทรัล รีเทล จะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน
จรรณยาบรรณคู่ค้า

สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในด้านการจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Products) เซ็นทรัล รีเทล ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกสินค้าที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการใช้วัสดุที่ยั่งยืน เช่น บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ และพลาสติกรีไซเคิล รวมถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เซ็นทรัล รีเทล สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านการใช้ซ้ำ (reuse) นำกลับมาใช้ใหม่ (repurpose) และการรีไซเคิล (recycle) เพื่อลดปริมาณขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งร่วมมือกับคู่ค้าที่ได้รับการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการจัดซื้อที่ยั่งยืน โดยได้มีการจำแนกกลุ่มสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

กลุ่มประเภทสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กลุ่มประเภท คำจำกัดความ ตัวอย่างฉลาก
สินค้าสุขภาพและความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ และเป็นธรรมต่อเกษตรกรและแรงงาน
สินค้าที่ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือปลูกทดแทนได้
สินค้าประหยัดพลังงาน ผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานน้อยลงและมีประสิทธิภาพสูง
สินค้าที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล หรือย่อยสลายได้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุรีไซเคิล หรือสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
สินค้าที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนการผลิต
สินค้าที่แสดงข้อมูลหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีการแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างการผลิตและใช้งาน

นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ได้มีการนำเสนอสินค้าอินทรีย์และสินค้าเพื่อสุขภาพ ภายใต้โครงการร้าน “Healthiful” ตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งในปี 2567 มีการขยายสาขาแล้วกว่า 86 สาขา โดยสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่นี้จะได้รับการประเมินโดยใช้เกณฑ์ดังนี้:

  • การรับรองคุณภาพ: ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) เพื่อการผลิตที่มีคุณภาพ
  • ประโยชน์ต่อผู้บริโภค: ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
  • ผลิตภัณฑ์ทางเลือก: รวมถึงสินค้าอินทรีย์ สินค้าที่ใช้ส่วนผสมจากพืชเป็นหลัก สินค้ามังสวิรัติ สินค้าช่วยดูแลระบบย่อยอาหาร สินค้าโปรตีนสูง และสินค้าอาหารคีโตเจนิค
  • ข้อจำกัดด้านสุขภาพ: ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคอาหารที่ปราศจากกลูเตน ผงชูรส วัตถุุกันเสีย คอเลสเตอรอล นมเนย หรือแล็กโทส รวมถึงผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่มีระดับโซเดียม ไขมัน หรือนํ้าตาลน้อย
การคัดเลือก การประเมิน และการมีส่วนร่วมกับคู่ค้า
การมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น

สินค้าชุมชนและสินค้าท้องถิ่น

เซ็นทรัล รีเทล มุ่งเน้นการสนับสนุนชุมชนและผู้ผลิตภายในประเทศ ตลอดจนเสริมสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เติบโตอย่างมั่นคง การจัดหาสินค้าจากชุมชนหรือแหล่งท้องถิ่นเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ไม่เพียงช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อย แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งสินค้าระยะไกล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เซ็นทรัล รีเทล ได้ดำเนินโครงการ “จริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต” หรือ “ตลาดจริงใจ” ตั้งแต่ปี 2561 เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น สินค้า OTOP และสินค้าชุมชนที่ได้รับการพัฒนาอย่างมีมาตรฐานร่วมกับเซ็นทรัล รีเทล โดยได้กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานของโครงการตลาดจริงใจ คือ การสร้างแพลตฟอร์มที่เป็นธรรม เปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยเข้ามาขายในตลาดโดยตรง ลดการพึ่งพาคนกลาง ทำให้สามารถกำหนดราคาสินค้าได้อย่างเป็นธรรม และสร้างความยั่งยืนให้กับผู้ผลิตในระยะยาว รวมถึงการส่งเสริมคุณภาพสินค้าและมาตรฐานการผลิต โดยให้การสนับสนุนและให้คำแนะนำด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งในด้านความปลอดภัยทางอาหาร การใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการผลิตที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการส่งเสริมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยตลาดจริงใจเป็นต้นแบบของตลาดที่ลดการใช้พลาสติก ส่งเสริมให้ใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้ และรณรงค์ให้ลูกค้านำถุงผ้ามาช็อปปิ้งเพื่อลดขยะพลาสติก

นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังสนับสนุนการสื่อสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนและเกษตรกรสามารถสื่อสารกับลูกค้าโดยตรง ทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มา วิธีการผลิต และมาตรฐานของสินค้า ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็สามารถรับฟังข้อเสนอแนะจากลูกค้าเพื่อนำไปพัฒนาสินค้าของตนให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น อีกทั้งยังมีแผนขยายเครือข่ายตลาดจริงใจสู่ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและการพัฒนาชุมชนอย่างทั่วถึง ปัจจุบันตลาดจริงใจมีจำนวนสาขาแล้วทั้งสิ้น 32 สาขา กระจายอยู่ทั่วประเทศ มีผลผลิตที่นำมาจำหน่ายกว่า 4,000 รายการ ครอบคลุมทั้งผักผลไม้สด สินค้าเกษตรแปรรูป งานหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยกว่า 10,522 ครัวเรือน สร้างรายได้หมุนเวียนสู่ชุมชนท้องถิ่นกว่า 250 ล้านบาท ได้รับโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่เป็นธรรม และสามารถเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน โครงการนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรที่เข้าร่วม สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร สร้างรายได้ที่มั่นคง และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นทั่วประเทศ

จริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต

การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

เซ็นทรัล รีเทล ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและมีความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายลดความสูญเสียทางชีวภาพ (No Net Loss - NNL) และสร้างผลกระทบเชิงบวก (Net Positive Impact - NPI) รวมถึงการบรรลุเป้าหมายการสูญเสียพื้นที่ป่าสุทธิเป็นศูนย์ (No Net Deforestation) เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

เซ็นทรัล รีเทล ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ติดตามผล และจัดกิจกรรมเยียวยาผลกระทบเชิงนิเวศอย่างครอบคลุมทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยใช้เครื่องมือกรองความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund’s Biodiversity Risk Filter Tool: WWF BRF) เพื่อตรวจสอบและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียหลัก เช่น คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และชุมชนท้องถิ่น ในการริเริ่มโครงการด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

เซ็นทรัล รีเทล ได้ร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ อาทิ กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand) โครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินโครงการที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการฟื้นฟูพื้นที่ป่า การส่งเสริมระบบนิเวศทางการเกษตรที่ยั่งยืน และการพัฒนากลยุทธ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

การประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
กำหนดขอบเขตการประเมิน
  • ระบุความสำคัญต่ออุตสาหกรรม

    • ระดับความพึ่งพิง
    • ผลกระทบ
  • ระบุสถานประกอบการในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดที่จะได้รับการประเมิน
รวบรวมข้อมูลตำแหน่งพื้นที่และข้อมูลห่วงโซ่อุปทาน
  • ระบุตำแหน่งสถานประกอบการ
  • ระบุประเภทอุตสาหกรรม
  • ระบุความสำคัญทางธุรกิจของสถานประกอบการแต่ละแห่ง
ประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
  • คำนวณค่าความเสี่ยงในภาพรวม (ของแต่ละตัวบ่งชี้)
  • คำนวณค่าความเสี่ยงระดับสถานที่ (คะแนนเป็นภาพรวม)
  • ประเมินและแปลความหมายของความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพตาม The World Wildlife Fund’s Biodiversity Risk Filter Tool (WWF BRF)
รวบรวมข้อมูลความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ
  • บูรณาการความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพสู่กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับองค์กร
คำมั่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การรักษา และฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้
การประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

โครงการสำคัญ

โครงการศูนย์การเรียนรู้การทำฟาร์มเมล่อน Smile Melon อยุธยา

โครงการ Smile Melon ตั้งอยู่ในตำบลคู้สลอด อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ 47 ไร่ โดยมีครัวเรือนเข้าร่วม 30 ครัวเรือน บนพื้นที่ 47 ไร่ เป็นโครงการที่ส่งเสริมเกษตรกรให้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรกรข้าวแบบดั้งเดิมให้เป็นธุรกิจการเกษตรที่ยั่งยืนด้วยการปลูกเมล่อนญี่ปุ่นที่มีคุณภาพสูง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ อาซาฮี (เนื้อส้ม หวาน กรอบ มีกลิ่นหอม) และ มิโดริ (เนื้อเขียว หวาน นุ่ม มีกลิ่นหอม) โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ซึ่งทำให้ผลผลิตเป็นไปตามมาตรฐานที่ตลาดการค้าต้องการ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้สนับสนุนสาธารณูปโภคต่าง ๆ และสร้างโรงเรือน พร้อมทั้งสถานที่สำหรับการคัดแยกและบรรจุเพื่อรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์เมล่อนในโครงการนี้จะถูกนำมาวางจำหน่ายที่ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในเครือของบริษัทฯ ในปี 2567 โครงการนี้ได้บรรลุเป้าหมายสำคัญในการส่งออกเมล่อนกว่า 4,300 ลูก ภายใต้แบรนด์ “My Choice Japanese Melon” ไปยัง NTUC FairPrice ในสิงคโปร์ และช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า 15.2 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ โครงการยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีผู้เยี่ยมชมโครงการมากกว่า 7,200 คนต่อปี ซึ่งรวมถึงตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน การเยี่ยมชมดังกล่าวไม่เพียงช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวท้องถิ่น แต่ยังช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจในหลากหลายมิติและการพัฒนาในแต่ละภูมิภาค

โครงการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน

บริษัทฯ ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรมท้องถิ่น กรมป่าไม้ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ จังหวัดน่าน จัดทำโครงการเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ ส่งเสริมการจัดหาทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบ และพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านการส่งเสริมการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวและระบบวนเกษตร โดยในปี 2567 โครงการได้เปลี่ยนพื้นที่เกษตรเสื่อมโทรมกว่า 2,500 ไร่ ให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ซึ่งผสมผสานไม้ยืนต้นเข้ากับพืชผักอินทรีย์ มีการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพ การบริหารจัดการน้ำและระบบชลประทาน รวมทั้งมีการส่งเสริมความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม จากผลผลิตโครงการ เช่น ฟักทอง พริก ผักต่าง ๆ ได้นำมาจัดจำหน่ายผ่าน ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และตลาดจริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต สามารถสร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจฯ และเครือข่ายกว่า 10 ล้านบาท ช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าของเกษตรกรและช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้มากยิ่งขึ้น

โครงการบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้สำหรับบรรจุเนื้อสัตว์และผลไม้

ท็อปส์ ธุรกิจในกลุ่มฟู้ดของเครือเซ็นทรัล รีเทล ร่วมกับบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) ภายใต้แบรนด์เกรซ (Gracz) และสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการผลิตบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหารและลดปริมาณขยะอาหาร (Food Waste)

บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวถูกออกแบบให้สามารถทดแทนพลาสติกและโฟมในกลุ่มผักและผลไม้บางชนิด เช่น มะเขือเทศ เห็ด พริก ขนุน ข้าวโพดอ่อน มะเขือ กระหล่ำเป็นต้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดลองสาขาท็อปส์ และคาดว่าจะสามารถนำมาใช้อย่างเป็นทางการกับผักและผลไม้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในท็อปส์ ภายในปี 2568 โดยบรรจุภัณฑ์นี้ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ได้มากกว่า 7 – 10 วัน ส่งผลให้สามารถลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) ซึ่งเป็นต้นเหตุหนึ่งของขยะอาหาร

ปัจจุบัน ท็อปส์ได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์จากเยื่อพืชธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ ร้อยละ 100 แทนที่บรรจุภัณฑ์โฟมและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำหรับอาหารพร้อมรับประทาน อาหารแห้ง และผลไม้สด อาทิ เชอรี่ ในสาขาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

โดยในปี 2567 ท็อปส์ได้ใช้บรรจุภัณฑ์จากเยื่อพืชธรรมชาติเกรซสำหรับ อาหารพร้อมทาน ผลไม้ และ อาหารแห้งรวมกว่า 1,186,000 ชิ้นในประเทศไทย ครอบคลุมกว่า 165 สาขา และอีก 187,501 ชิ้น ใน GO! ประเทศเวียดนาม คิดเป็นน้ำหนักรวมทั้งหมดกว่า 20.6 ต้น ที่ท็อปส์สามารถลดขยะพลาสติกออกสู่สิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์จากเกรซนี้นอกจากจะช่วยรักษาคุณภาพความสดใหม่ของอาหารและผลผลิตแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก พร้อมทั้งส่งเสริมให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ผลการดำเนินงานปี 2567

สินค้าเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย
กลุ่มสินค้าหลักที่ได้รับการประเมินด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
ร้อยละ100
ยอดขายสินค้า Healthiful (บาท)
ยอดขายสินค้า OTOP (บาท)