การกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ

เซ็นทรัล รีเทล มุ่งมั่นยึดหลักการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย บนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ ทั้งนี้การรักษามาตรฐานอย่างครอบคลุมในกระบวนการดำเนินธุรกิจ มีความซับซ้อนและท้าทาย เซ็นทรัล รีเทล จึงได้กำหนดนโยบายต่างๆ ภายใต้การดูแลของ คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการป้องกันและการฝึกอบรมพนักงานเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง จากความพยายามเหล่านี้ จึงได้รับความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งนำไปสู่ความพึงพอใจต่อแบรนด์ และความสามารถในการเข้าถึงเงินทุนที่สูงขึ้น ความมุ่งมั่นนี้ส่งเสริมให้มีความสามารถในการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรในท้ายที่สุด

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผู้มีส่วนได้เสีย และสิทธิมนุษยชน

การกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ ที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้บริษัทมีผลกำไรและยั่งยืน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย การจัดการภายในที่แข็งแกร่ง ส่งเสริมความโปร่งใส ลดการทุจริต ปกป้องเสถียรภาพทางการเงิน เพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน และมูลค่าของหุ้น โดยผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ชุมชน และภาครัฐ ล้วนได้รับผลกระทบเชิงบวก

พนักงานจะได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย และความเป็นผู้นำที่มีจริยธรรม คู่ค้าได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมและความร่วมมือที่มั่นคง ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพและปลอดภัย ชุมชนได้รับผลกระทบจากการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีความรับผิดชอบ รัฐบาลได้รับประโยชน์จากรายได้ภาษีที่เพิ่มขึ้น และนักลงทุนและผู้ถือหุ้นได้รับความมั่นคงจากผลกำไรที่ยั่งยืน

ในทางกลับกัน การไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ เป็นอันตรายต่อทั้งธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย นำไปสู่การจัดการที่ละเลย ทำให้เกิดปัญหาการทุจริตและกฎหมาย ส่งผลต่อความไว้วางใจและความสามารถในการทำกำไร การประพฤติที่มิชอบส่งผลต่อชื่อเสียงและการขาย พนักงานได้รับผลกระทบจากการถูกเอารัดเอาเปรียบและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ในขณะที่คู่ค้าเผชิญกับการสูญเสียทางการเงิน ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย และชุมชนต้องทนต่อความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม ภาครัฐสูญเสียรายได้ทางภาษี ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบริการ และนักลงทุนเผชิญกับความสูญเสียทางการเงินและผลกำไรที่ลดลง

แนวทางการบริหารจัดการ

ความโปร่งใสและการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย เป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจที่มีประสิทธิผลในตลาดที่มีการแข่งขันสูงและคำนึงถึงจริยธรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เซ็นทรัล รีเทลได้แต่งตั้งคณะกรรมบริษัทฯ ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่หลากหลายในอุตสาหกรรมค้าปลีก

เซ็นทรัล รีเทล ยังได้จัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานและประสิทธิผลของการดำเนินงานและหลักปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจของ เซ็นทรัล รีเทล ตลอดจนรับประกันการบูรณาการที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจทั้งหมด พร้อมทั้งแนะนำและให้แนวทางปฎิบัติ ในการขับเคลื่อนยกระดับการจัดการให้แก่ เซ็นทรัล รีเทล อย่างต่อเนื่อง

โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566)

นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ได้กำหนดนโยบายที่ครอบคลุม เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างจริยธรรมในทุกมิติ โดยนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ได้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนและเป็นรากฐานในการตัดสินใจอย่างมีความรับผิดชอบต่อพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและรับผิดชอบ เซ็นทรัล รีเทล ได้กำหนด นโยบายการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิด ซึ่งเป็นช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสีย รายงานพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณ ในขณะที่ปกป้องผู้แจ้งเบาะแสจากการตอบโต้ทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงความกังวลได้อย่างเต็มที่ โดยให้ระบบนี้ส่งเสริมวัฒนธรรมของการสื่อสารแบบเปิดและส่งเสริมให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ในการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมมากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ

กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
1
คน
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร
14
คน
กรรมการอิสระ
5
คน
กรรมการเพศหญิง
3
คน

ปัจจุบัน องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการอิสระ และบริษัทย่อย อยู่ระหว่างการพิจารณาและจะมีการปรับปรุงในรอบรายงานถัดไป ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้มีการอนุมัติให้แก่ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ในการพิจารณาเพิ่มจำนวนกรรมการเพศหญิง เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศของคณะกรรมการ

เซ็นทรัล รีเทล ใช้กรอบ GRC - Governance, Risk, and Compliance เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ อย่างมีประสิทธิภาพ โดย GRC ยังส่งเสริมการดำเนินงานแบบองค์รวม สร้างความสอดคล้องเป้าหมายเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความเสี่ยง ส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และปลูกฝังจริยธรรมในทุกด้านของ เซ็นทรัล รีเทล นอกจากนี้ GRC ยังส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการถูกปรับ ความเสียหายทางด้านชื่อเสียง และข้อพิพาททางกฎหมาย

ในปี 2566 เซ็นทรัล รีเทล มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถ โดยมีการจัดสัมมนาและเวิร์คช็อปร่วมกับบริษัทชั้นนำ รวมถึงจัดให้มีการสื่อสารจากผู้บริหารกลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ (Tone at the Top) การจัดทำ E-Rule Book และเน้นการสื่อสารภายใน นอกจากนี้ ได้จัดทำโครงการ Pilot Governance Risk Compliance (GRC) Project on New Business Checklist ขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมตามหลักกรอบของ GRC

CRC GRC Roadmap

คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณองค์กร

เพื่อให้มั่นใจว่าคณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องของ เซ็นทรัล รีเทล ทำงานด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีจริยธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เซ็นทรัล รีเทล จึงจัดทำ คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณองค์กร เพื่อรวบรวมเป็นแนวปฏิบัติในหัวข้อต่างๆ เช่น บทบาทและความรับผิดชอบ คำแนะนำในการนำไปปฏิบัติและการกำกับดูแล ช่องทางการแจ้งเบาะแส กระบวนการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และนโยบายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณองค์กร คู่มือดังกล่าวได้เผยแพร่ต่อสาธารณะบนเว็บไซต์ของ เซ็นทรัล รีเทล และมีการตรวจสอบอยู่เป็นประจำทุกปี โดยคู่มือได้เผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น อีเมล อินทราเน็ต และการฝึกอบรม รวมทั้งพนักงานจะต้องรับทราบและลงนามเพื่อปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด

คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณองค์กร:

แนวปฎิบัติต่อการกระทำผิดของพนักงาน

พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น การให้และรับสินบน และทุจริต จะถูกลงโทษทางวินัยโดย 1) เลิกจ้าง; 2) แจ้งให้พนักงานที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงขั้นตอนการสอบสวนและผลลัพธ์ รวมทั้งมาตรการแก้ไข 3) พนักงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการแก้ไข; และ 4) พิจารณาดำเนินการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำผิดในอนาคต เพื่อป้องกันกรณีการคอร์รัปชั่น การให้และรับสินบน และการทุจริต เซ็นทรัล รีเทล ได้วางมาตรการป้องกัน ปรับปรุงกระบวนการควบคุมภายใน และเพิ่มการฝึกอบรมด้านจริยธรรม ในกรณีที่มีการประพฤติมิชอบต่อลูกค้า เซ็นทรัล รีเทล จะติดต่อลูกค้าเพื่อขออภัยและเสนอค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น

เซ็นทรัล รีเทล มีการทบทวนนโยบาย ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณองค์กรเป็นประจำทุกปี กระบวนการตรวจสอบนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า คู่มือยังคงมีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด โดยพนักงานทุกคนจะได้รับแจ้งการแก้ไขผ่านทางอีเมลและอินทราเน็ต

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี:
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
นโยบายการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิด

โครงการที่โดดเด่น

การรับทราบและฝึกอบรมจรรยาบรรณองค์กร

การรับทราบและฝึกอบรมจรรยาบรรณองค์กร ได้จัดให้กับกรรมการและพนักงาน มีความเข้าใจอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ การกำกับดูแล และบทบาทที่เกี่ยวข้องในการรักษาจรรยาบรรณองค์กรของ เซ็นทรัลรีเทล

เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงความรับผิดชอบด้านจริยธรรม เซ็นทรัล รีเทล จึงเปิดตัวหลักสูตรการฝึกอบรมที่ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้:

  • การปฎิบัติตนในหน้าที่
  • การให้ความสำคัญต่อลูกค้า
  • การรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ
  • การใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ
  • การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • การทุจริตคอร์รัปชั่น
  • การปฏิบัติตนต่อสังคม
  • การแจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียน

นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ทั้ง VDO Clip, Desktop Wallpaper, Email, Line Group, MS team และ Speedy Quiz เพื่อให้มั่นใจว่าการสื่อสารเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณองค์กรสามารถเข้าถึงพนักงานทุกคน

โดยในปี 2566 คณะกรรมการ ร้อยละ 100 และพนักงานร้อยละ 97 แบ่งเป็นระดับบริหารร้อยละ 97.84 และพนักงานทั่วไปร้อยละ 96.63 รับทราบและเข้าอบรมหลักสูตร โดยผู้เข้าร่วม 100% ผ่านการทดสอบหลักจรรยาบรรณองค์กรบนแพลตฟอร์ม CNEXT

CAC Change Agent

ในปี 2565 ถึงปี 2568 เซ็นทรัล รีเทล ได้รับการรับรองในฐานะสมาชิกแนวร่วม ต่อต้านคอร์รัปชัน ของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC) เพื่อเสริมสร้างแนวปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตและเพิ่มความโปร่งใสทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน ในปี 2566 เซ็นทรัล รีเทล ได้เชิญชวนคู่ค้ากว่า 10 ราย เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก แนวร่วม ต่อต้านคอร์รัปชัน ของภาคเอกชนไทย (CAC) และเพื่อปูทางให้คู่ค้า เซ็นทรัล รีเทล ในฐานะสมาชิก CAC ได้จัดให้มีการฝึกสอน การแบ่งปันความรู้ ผ่านระบบ Zoom เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามกระบวนการประกาศ CAC ให้แก่คู่ค้า โดยโครงการนี้ช่วยขยายระบบนิเวศของการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมของ เซ็นทรัล รีเทล และเพิ่มความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสีย

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CRC Change Agent:

ผลการดำเนินงาน

ในปี 2566 เซ็นทรัล รีเทล และบริษัทย่อย ได้รับการร้องเรียนเรื่องการละเมิดจรรยาบรรณทางธุรกิจ ทั้งหมด 63 กรณี โดยมีกรณีเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น การให้สินบน หรือฉ้อโกงโดยพนักงาน 13 กรณี ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหาย ทั้งนี้ไม่มีกรณีการคอร์รัปชันที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรภายนอก และไม่ส่งผลให้บริษัทต้องเสียค่าปรับตามกฎระเบียบ

กรณีของการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจ (กรณี) 2563 2564 2565 2566
การร้องเรียนการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจ 89 80 48 63
การทุจริตคอร์รัปชัน 0 2 0 0
การฉ้อโกง 35 22 11 14
ผลประโยชน์ทับซ้อน 3 1 0 3
การฝ่าฝืนกฎระเบียบภายในของบริษัทฯ 51 55 37 46
การขัดขวางการแข่งขันทางการค้า 0 0 0 0
การร้องเรียนด้านอื่นๆ 8 7 2 3
สังคมและชุมชน 0 0 0 2
สิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2 1 1 1
สินค้าและบรรจุภัณฑ์ 5 0 0 0
การละเมิดสิทธิมนุษยชน 0 1 0 0
การเลือกปฎิบัติและการคุกคามต่างๆ 0 0 0 0
อื่นๆ 1 5 1 0

หมายเหต: ขอบเขตการเก็บข้อมูลครอบคลุมเฉพาะการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

จำนวนกรณีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนในแต่ละปี (กรณี) 2563 2564 2565 2566
การร้องเรียนการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจ 1 0 2 1
การทุจริตคอร์รัปชัน 0 0 0 0
การฉ้อโกง 0 0 1 0
ผลประโยชน์ทับซ้อน 0 0 0 0
การฝ่าฝืนกฎระเบียบภายในของบริษัทฯ 1 0 1 1
การขัดขวางการแข่งขันทางการค้า 0 0 0 0
การร้องเรียนด้านอื่นๆ 0 0 0 0
สังคมและชุมชน 0 0 0 0
สิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 0 0 0 0
สินค้าและบรรจุภัณฑ์ 0 0 0 0
การละเมิดสิทธิมนุษยชน 0 1 0 0
การเลือกปฎิบัติและการคุกคามต่างๆ 0 0 0 0
อื่นๆ 0 0 0 0

หมายเหตุ: ขอบเขตการเก็บข้อมูลครอบคลุมเฉพาะการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

กรณีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจที่ผ่านการสอบสวนและมีการยืนยันว่าทำผิดจริง (กรณี) 2563 2564 2565 2566
การร้องเรียนการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจ 62 49 28 33
การทุจริตคอร์รัปชัน 0 1* 0 0
การฉ้อโกง 25 15 8 13
ผลประโยชน์ทับซ้อน 3 0 0 1
การฝ่าฝืนกฎระเบียบภายในของบริษัทฯ 34 33 20 19
การขัดขวางการแข่งขันทางการค้า 0 0 0 0
การร้องเรียนด้านอื่นๆ 6 1 0 3
สังคมและชุมชน 0 0 0 2
สิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 0 0 1
สินค้าและบรรจุภัณฑ์ 5 0 0 0
การละเมิดสิทธิมนุษยชน 0 0 0 0
การเลือกปฎิบัติและการคุกคามต่างๆ 0 0 0 0
อื่นๆ 0 1 0 0

* กรณีคอร์รัปชัน 1 กรณีถือเป็นการกระทำผิดโดยพนักงาน อันเป็นผลเสียต่อบริษัทฯ ทั้งนี้ยังไม่มีกรณีทางทุจริตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐหรือบุคคลภายนอกและไม่มีกรณีใดที่ต้องเสียค่าปรับ หรือถูกระงับข้อพิพาทโดยหน่วยงานท้องถิ่นหรือต่างประเทศ

หมายเหตุ: ขอบเขตการเก็บข้อมูลครอบคลุมเฉพาะการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

การจัดการกรณีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจในปี 2566 กระทำผิดโดยพนักงาน กระทำผิดโดยคู่ค้า
พ้นสภาพการเป็นพนักงาน/ยกเลิก/ไม่ต่อสัญญาคู่ค้า 16 1
ตักเตือน/ลงโทษทางวินัย 12 0
โอนย้ายสาขา 0 0
ส่งกลับต้นสังกัด 4 0
แก้ไขตามคำร้องเรียน/ชี้แจง 3 0
ไ่ม่มีบทลงโทษ 0 0

หมายเหตุ: ขอบเขตการเก็บข้อมูลครอบคลุมเฉพาะการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

การสื่อสารและอบรมด้านนโยบายและกระบวนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ปี 2566
คณะกรรมการบริษัทฯ N/A
พนักงาน 26,259
  • ผู้บริหารระดับสูง
38
  • ผู้จัดการ
231
  • พนักงานในระดับอาวุโส
855
  • พนักงานทั่วไป (รวมถึงพนักงานชั่วคราว)
25,135

หมายเหตุ: ขอบเขตการเก็บข้อมูลครอบคลุมเฉพาะการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย