การบริหารจัดการทรัพยากร

เซ็นทรัล รีเทล ตระหนักถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จึงมุ่งเน้นใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อลดการใช้ทรัพยากร ส่งเสริมการรีไซเคิล และเลือกการกำจัดขยะด้วยวิธีที่เป็นประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งการบริหารจัดการพลังงาน นํ้า บรรจุภัณฑ์ และขยะ ทั้งนี้ เซ็นทรัล รีเทล มีเป้าหมายการจัดการทรัพยากร ได้แก่ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยละ 100 ลดขยะลงหลุมฝังกลบร้อยละ 30 ของปริมาณขยะทั้งหมด รวมถึงลดการสูญเสียอาหารและปริมาณขยะอาหารร้อยละ 30 ภายในปี 2573 ภายใต้กลยุทธ์ ReNEW โดยเป้าหมายเหล่านี้ล้วนตอกยํ้าความมุ่งมั่นในการสร้างเสริมประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของเซ็นทรัล รีเทล

เซ็นทรัล รีเทล จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดการใช้ทรัพยากร ขณะที่ธุรกิจยังเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ เซ็นทรัล รีเทล จึงจำเป็นที่จะต้องบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ากับการบริหารจัดการทรัพยากรและขยะตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อลดหรือทดแทนวัสดุที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้และหันมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรีไซเคิลได้แทน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งลดความเสี่ยงจากข้อร้องเรียนและชื่อเสียงเสียหายจากประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพยังช่วยลดต้นทุนและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่เซ็นทรัล รีเทล ผ่านการสร้างสรรค์สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มได้อีกด้วย

เป้าหมาย

ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ต่อหน่วยรายได้ 30% ภายในปี 2573
ลดปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ 30% ภายในปี 2573
ส่งเสริมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 100% ภายในปี 2573

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผู้มีส่วนได้เสีย และสิทธิมนุษยชน

การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งเซ็นทรัล รีเทล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการใช้แนวทางปฏิบัติด้านทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เซ็นทรัล รีเทล สามารถลดต้นทุนได้จากการใช้พลังงานและนํ้าที่ลดลง และการสร้างขยะลดลง นำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลกำไรของเซ็นทรัล รีเทล ขณะเดียวกันการปฏิบัติตามกฎระเบียบก็ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงบวกกับหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ ชุมชนและสังคมยังประสบปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมลดลงและช่วยส่งเสริมสุขภาพของประชาชนอันเนื่องมาจากการจัดการขยะอย่างมีความรับผิดชอบ นักลงทุนและผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นต่อความรับผิดชอบของเซ็นทรัล รีเทล ซึ่งนำไปสู่ชื่อเสียงที่ดีและมีแนวโน้มเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อความยั่งยืนได้มากขึ้น คู่ค้าและชุมชนได้รับประโยชน์จากความร่วมมือในการส่งเสริมประสิทธิภาพของทรัพยากรตลอดห่วงโซ่คุณค่าและโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ จากผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ อีกทั้งยังดึงดูดลูกค้าและพนักงานบางกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อองค์กรที่มีความรับผิดชอบ

ในทางตรงกันข้าม การบริหารทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้เซ็นทรัล รีเทล มีต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้น รวมทั้งยังเสี่ยงต่อการสูญเสียความน่าเชื่อถือ ความจงรักภักดี ตลอดจนความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ถือหุ้น ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งชุมชนและรัฐบาลจะเผชิญปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงอาจต้องเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพด้วยจนอาจนำไปสู่การร้องเรียนและปัญหาด้านความสัมพันธ์ในที่สุด

แนวทางการบริหารจัดการ

การกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม

เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดให้มีโครงสร้างระบบกำกับดูแลที่ประกอบด้วยคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน กรรมการผู้จัดการใหญ่ของแต่ละหน่วยธุรกิจ และคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม เป็นกลไกสำคัญในการกำกับดูแลให้ระบบบริการจัดการสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิผลและสอดคล้องตามกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานสากล

เนื่องจากการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเป็นประเด็นหลักของระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและเป็นสมาชิกของทั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและคณะกรรมการบริษัท จึงมีหน้าที่ในการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตามความมุ่งมั่นที่ได้ประกาศไว้ในกลยุทธ์ ReNEW ในระดับบริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ของแต่ละหน่วยธุรกิจมีหน้าที่กำกับดูแลระบบและการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และรายงานผลให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทราบอย่างสมํ่าเสมอ ขณะที่คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ติดตามผลการดำเนินงานด้านดังกล่าวของทั้งเซ็นทรัล รีเทล และช่วยสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่หน่วยธุรกิจได้ริเริ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้ทรัพยากร โดยคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมจะรายงานผลให้คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารทราบอย่างสมํ่าเสมอ

ทั้งนี้ เซ็นทรัล รีเทล กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมสำหรับบังคับใช้ต่อเซ็นทรัล รีเทล และบริษัทย่อยทุกแห่ง มีเนื้อหาครอบคลุมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประเด็นสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงจัดทำ 1) แนวปฏิบัติด้านการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร 2) แนวปฏิบัติด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย และ 3) แนวปฏิบัติด้านการลดพลาสติกและบรรจุุภัณฑ์ เพื่อเป็นคู่มือให้พนักงานได้ประยุกต์ใช้หลักการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
แนวปฏิบัติด้านการลดพลาสติกและบรรจุภัณฑ์
แนวปฏิบัติด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย
แนวปฏิบัติด้านการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

เซ็นทรัล รีเทล มุ่งมั่นที่จะเป็น “ผู้ค้าปลีกสีเขียวเพื่อความยั่งยืน” (Green & Sustainable Retail) แห่งแรกของประเทศไทยภายใต้กลยุทธ์ ReNEW โดยกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่เน้นให้ห่วงโซ่คุณค่าของทั้งเซ็นทรัล รีเทล ยกระดับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบร่วมกัน แผนงานหลักของเซ็นทรัล รีเทล ในปี 2566 คือ การจัดอบรมด้านสิ่งแวดล้อมให้พนักงานเพื่อสร้างเสริมความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการดำเนินธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม เนื้อหาการอบรมมีทั้งสิ้น 6 หัวข้อ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดหาสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบ นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังร่วมมือกับพนักงาน คู่ค้า และลูกค้าเพื่อเพิ่มการตระหนักรู้และกระตุ้นให้ร่วมกันส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ลำดับชั้นของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

เซ็นทรัล รีเทล จัดทำลำดับชั้นของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ประกอบไปด้วยการป้องกัน การลด การใช้ซํ้า การรีไซเคิล การอัปไซเคิล และการกำจัด โดยลำดับชั้นดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อทุกกิจกรรมของเซ็นทรัล รีเทล และทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงาน นํ้า บรรจุภัณฑ์ และขยะ รวมถึงการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

โปรแกรมอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

การจัดการพลังงานและนํ้า

เซ็นทรัล รีเทล ติดตามข้อมูลการใช้พลังงานและนํ้า และวิเคราะห์ระบุกิจกรรมหลักที่มีการใช้พลังงานและนํ้าสูงหรือไม่มีประสิทธิภาพ เพื่อออกแบบโครงการอนุรักษ์หรือสร้างเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานหรือทรัพยากรได้อย่างตรงจุดและลดการใช้พลังงานและนํ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในการสนับสนุนการบริหารจัดการพลังงาน เซ็นทรัล รีเทล ลงทุนในการติดตั้งระบบผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานสิ้นเปลือง รวมถึงติดตั้งระบบประหยัดพลังงานหรือส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงานทั้งในสินทรัพย์ใหม่และสินทรัพย์เดิม ที่สำคัญ เซ็นทรัล รีเทล ยังเข้าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทยเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนแทนที่พลังงานสิ้นเปลืองทั้งหมด ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารจัดการพลังงานได้ที่ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในการสนับสนุนการบริหารจัดการนํ้า เซ็นทรัล รีเทล ระบุเขตพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนนํ้าเพื่อจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมอนุรักษ์นํ้า ทั้งการใช้ซํ้าและรีไซเคิลนํ้าเสียที่ได้รับการบำบัดแล้วของเซ็นทรัล รีเทล ตลอดจนจัดทำมาตรการลดผลกระทบเพื่อบรรเทาความเสี่ยงจากการขาดแคลนนํ้าในพื้นที่เสี่ยงทั้งหมดของเซ็นทรัล รีเทล และชุมชนใกล้เคียง

การจัดการบรรจุภัณฑ์

เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกใช้บรรจุภัณฑ์จำนวนมาก เซ็นทรัล รีเทล จึงจัดทำโครงการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าตามแนวปฏิบัติด้านการลดพลาสติกและบรรจุุภัณฑ์ ทั้งนี้ การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์มีวัตถุประสงค์หลักในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้และเพิ่มการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ของเซ็นทรัล รีเทล มีดังนี้

  • ลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งผ่านโครงการ ‘Say No to Plastic Bags’
  • เพิ่มการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ซํ้าได้ผ่านโครงการ ‘Bring Your Own Bag’
  • เพิ่มการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุที่รีไซเคิลได้ผ่านโครงการ ‘Bag for Life’
  • วิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน
  • จัดทำโครงการดูแลให้บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ถูกนำไปรีไซเคิลและใช้ประโยชน์จริงผ่านความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการเพิ่มมูลค่าวัสดุและสินค้า
Central Love the Earth: Beat Plastic Pollution
แปรรูปพลาสติกเหลือใช้ ลดการสร้างขยะให้เป็นศูนย์ เพิ่มคุณค่าผ่านงานดีไซน์ ต่อลมหายใจให้สิ่งแวดล้อม
การวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

การจัดการขยะ

นอกเหนือจากการป้องกัน การลด และการใช้ซํ้าบรรจุภัณฑ์และทรัพยากรอื่น ๆ แล้ว เซ็นทรัล รีเทล ยังให้ความสำคัญต่อการจัดการขยะและขยะอาหารตามแนวปฏิบัติการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยได้มีการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการแยกขยะในพนักงานและลูกค้า รวมถึงจัดตั้งสถานีแยกขยะตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เพื่อให้สามารถส่งต่อขยะไปรีไซเคิลหรือแปรรูปได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด

เซ็นทรัล รีเทล มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะเพื่อติดตามความคืบหน้าตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเก็บข้อมูลอัตโนมัติและนำข้อมูลมาตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ เซ็นทรัล รีเทล จัดประเภทการสูญเสียอาหารและขยะอาหารเป็นหมวดย่อย เช่น เบเกอรี อาหารพร้อมทาน เนื้อสด อาหารสดในบรรจุภัณฑ์ อาหารทะเลสด พืชผลเกษตรและขนมขบเคี้ยว ซึ่งช่วยให้สามารถติดตามผลของการดำเนินการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารตั้งแต่ต้นทาง

นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ดำเนินโครงการลดขยะอาหารผ่านความร่วมมือกับแพลตฟอร์มยินดี (Yindii) ที่ช่วยจัดจำหน่ายสินค้าอาหารส่วนเกินแบบลดราคา รวมถึงจัดสินค้าอาหารส่วนเกินใส่ถุง ‘Surprise Bags’ เพื่อนำไปจัดจำหน่ายในท็อปส์ ซููเปอร์มาร์เก็ตและแฟมิลี่มาร์ทในราคาย่อมเยา นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังบริจาคอาหารส่วนเกินให้แก่กลุ่มเปราะบางผ่านมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ประเทศไทย และร่วมมือกับสตาร์ตอัปอย่าง “ใจกล้า” ในการรีไซเคิลขยะอาหารให้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงแมลงในฟาร์ม โดยแมลงดังกล่าวจะเป็นวัตถุดิบในการผลิตขนมโปรตีนให้แก่สัตว์เลี้ยง เซ็นทรัล รีเทล ยังร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นในการจัดทำ ‘Samui Zero Waste Model’ เพื่อสร้างต้นแบบในการรีไซเคิลอาหารขยะเป็นอาหารสัตว์หรือปุ๋ย

Journey to Zero: การจัดการการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

โครงการสำคัญ

โครงการรีไซเคิลและอัพไซเคิลในกลุ่มธุรกิจฮาร์ดไลน์

บริษัทดำเนินโครงการรีไซเคิลและอัพไซเคิล โดยรวบรวมขวดพลาสติกที่ใช้แล้วจากจุดรวบรวมที่กำหนดในเพาเวอร์บายและออฟฟิศเมท ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้ประเภทธุรกิจฮาร์ดไลน์ ส่งขวดพลาสติกไปยังวัดจากแดงเพื่อแปรรูปเป็นเส้นใยแล้วทอเป็นจีวรสำหรับพระภิกษุ โดยในปี 2566 ขวดพลาสติกจำนวน 20,009 ขวด ถูกนำไปรีไซเคิลเป็นจีวร 333 ชิ้น เพาเวอร์บายยังได้ร่วมมือกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จัดตั้งจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ 40 แห่งทั่วประเทศ เพื่อนำไปรีไซเคิลและกำจัดอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานสากล

ความร่วมมือกับ “ใจกล้า” เปลี่ยนขยะอาหารเป็นขนมสัตว์เลี้ยง

เซ็นทรัล รีเทล ร่วมมือกับสตาร์ตอัปอย่าง “ใจกล้า” เพื่อเปลี่ยนขยะอาหารเป็นขนมสัตว์เลี้ยง โดยรวบรวมขยะอาหาร เช่น ขนมปัง ผักและผลไม้ที่กินไม่ได้แล้วจากท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 10 สาขาในกรุงเทพฯ โดยมีการตรวจสอบคุณภาพและอนามัยของสินค้าดังกล่าวก่อนจัดส่งให้ใจกล้า เพื่อนำไปใช้ในการแปรรูปเป็นอาหารสำหรับแมลง ก่อนที่แมลงดังกล่าวจะกลายเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตขนมสัตว์เลี้ยงจากโปรตีนแมลงที่วางจำหน่ายในท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ และช่องทางจำหน่ายออนไลน์ ในปี 2566 โครงการนี้ช่วยลดขยะอาหารได้มากถึง 23,589 กิโลกรัม

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่

บริษัทฯ ได้มีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ผ่านการดำเนินการต่างๆ ภายในศูนย์การค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ และห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เช่น การปรับอัตราการไหลของน้ำของเครื่องสุขภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน การติดตั้งถังเก็บน้ำฝนเพื่อสำรองน้ำ การนำน้ำจาก Cooling Tower และระบบเครื่องปรับอากาศ มาใช้ประโยชน์ใหม่ และการนำน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดตามมาตรฐานมารดน้ำต้นไม้ เป็นต้น โดยจากโครงการต่างๆ เหล่านี้ สามารถลดการใช้น้ำได้กว่า 17,000 ลิตรต่อเดือน