การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

เซ็นทรัล รีเทล มุ่งเน้นการใช้ศักยภาพและช่องทางต่างๆของธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตและยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน บนแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม ผ่านการสร้างความร่วมมือกับชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการ ยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นขยายช่องทางจำหน่าย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของชุมชน เพื่อเป้าหมายลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย

สร้างรายได้ต่อปี

5,400

ล้านบาท ให้แก่เกษตรกร และชุมชน ภายในปี 2573

แนวทางบริหารจัดการ

เซ็นทรัล รีเทล กำหนดแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Share Values: CSV) เป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินโครงการเพื่อสังคมต่างๆ โดยมีจุดประสงค์หลักในสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ก่อนที่จะริเริ่มโครงการ เซ็นทรัล รีเทล จะต้องจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนรวมถึงการจัดทำแบบสอบถามและการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพื่อที่โครงการจะสามารถสร้างคุณค่าให้กับชุมชนได้อย่างแท้จริง ในระหว่างการดำเนินโครงการ เซ็นทรัล รีเทล จะเน้นให้การสนับสนุนกับชุมชนโดยใช้ประโยชน์จากความรู้และความเชี่ยวชาญในฐานะธุรกิจค้าปลีก เริ่มจากการสนับสนุนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชนผ่านการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผ่านการยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วให้เป็นที่น่าสนใจ ตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน และมีมูลค่าเพิ่ม เซ็นทรัล รีเทล จัดการฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะ และสนับสนุนอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อกระบวนการผลิต ที่สำคัญ เซ็นทรัล รีเทล ได้ให้ความรู้ด้านการตลาด และสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของให้กับชุมชน รวมถึงห้างสรรพสินค้าและแพลตฟอร์มจัดจำหน่ายออนไลน์ของธุรกิจภายในเครือของ เซ็นทรัล รีเทล

สนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่าย

เซ็นทรัล รีเทล ใช้ประโยชน์จากช่องทางต่างๆของธุรกิจ เพื่อสนับสนุนและสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชน เพิ่มตัวเลือกให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าคุณภาพที่คุณภาพ สดใหม่ ส่งตรงจากชุมชน เซ็นทรัล รีเทล จึงได้ริเริ่ม โครงการ จริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต เพื่อสนับสนุนช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกรท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เข้ามาจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ เซ็นทรัล รีเทล สร้างโอกาส การพบปะและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคโดยตรง เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและคนในสังคมอย่างยั่งยืน

การพัฒนาผลิตภัณฑ์

เพื่อต่อยอดศักยภาพของสินค้าท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค หนึ่งในวิธีการสนับสนุนชุมชนของ เซ็นทรัล รีเทล คือการสร้างความร่วมมือกับชุมชน ในการยกระดับการผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกวัตถุดิบ การผลิต ร่วมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค มากยิ่งขึ้น โดยหนึ่งในโครงการเด่นของ เซ็นทรัล รีเทล โครงการท่องเที่ยวชุมชนนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ผ่านการดึงจุดเด่นของชุมชน ในเรื่องการทอผ้า และอนุรักษ์มรดกผ้าทอโบราณ นำมาออกแบบและดีไซน์ ให้เกิดการผสมผสานร่วมสมัย และต่อยอดจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำจังหวัด

ผลการดำเนินการ

ประเภทการสนับสนุน ชุมชนและสังคมใน ปี 2565

จริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต ขยายเป็น
32
สาขา
ใน 28 จังหวัด ทั่วประเทศ
จริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต สร้างรายได้ร่วมกันระหว่าง เซ็นทรัล รีเทล และ ชุมชน
250
ล้านบาท
จริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต ครอบคลุมมากกว่า
9,696
ครัวเรือน
นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมชุมชนนาหมื่นศรีกว่า
50,000
คน
ชุมชนนาหมื่นศรี สร้างรายได้กว่า
7.3
ล้านบาท
รายได้เฉลี่ยต่อหัว ของชุมชนนาหมื่นศรี เพิ่มขึ้น
28,000
บาท

เรื่องราวของเรา