การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลถือเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์การบริหารจัดการและการเติบโตของเซ็นทรัล รีเทล ด้วยการส่งเสริมวัฒนธรรมด้านการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการสนับสนุนพนักงานในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจค้าปลีกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การมุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีและทักษะการให้บริการโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางช่วยให้พนักงานของเรามีเครื่องมือและความเชี่ยวชาญที่จำเป็นในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า กลยุทธ์นี้จะช่วยเพิ่มความคล่องตัว สร้างความแข็งแกร่งต่อโอกาสการแข่งขันทางธุรกิจ และมีส่วนช่วยต่อการเติบโตของบริษัทในระยะยาว

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสิทธิมนุษยชน

การลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวของเซ็นทรัล รีเทล ด้วยการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้มีความรู้และทักษะในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม บริษัทยังให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมและการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน กลยุทธ์นี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสามารถของเราในการดึงดูด รักษา และพัฒนาบุคลากรที่มีรู้ความความสามารถเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจอีกด้วย นอกจากนี้ การส่งเสริมพนักงานเพื่อเพิ่มทักษะยังมีส่วนสนับสนุนทางด้านเศรษฐกิจโดยรวมต่อการขับเคลื่อนความร่วมมือกับคู่ค้า การปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยต่อการพัฒนาประเทศในที่สุด

แนวทางการบริหารจัดการ

กลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคล: การสร้าง CRC ให้เป็น “A Great Place to Work” เพื่อ “Winning Team” ที่พร้อมมุ่งสู่ชัยชนะไปด้วยกัน

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และผู้ค้าปลีกออนไลน์ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปต่อการทำงาน ดังนั้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้นำกลยุทธ์ Retailigence มาใช้ เพื่อยกระดับการดำเนินธุรกิจให้ทันต่อกระแสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพนักงานเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำเนินงานของบริษัท ความสำเร็จของกลยุทธ์ Retailigence จึงขึ้นอยู่กับการมุ่งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การใช้กลยุทธ์ Retailigence ควบคู่ไปกับการดำเนินงานเพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล จึงไม่เพียงแต่เสริมความแข็งแกร่งของบริษัทในการรับมือกับความเสี่ยงเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดโอกาสเพื่อสร้างการเติบโตให้พนักงานอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ กลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคล - การสร้าง CRC ให้เป็น “A Great Place to Work” เพื่อ “Winning Team” ที่พร้อมมุ่งสู่ชัยชนะไปด้วยกัน เกิดจากการนำกลยุทธ์ Retailigence มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ทั้ง 8 ข้อหลักที่เชื่อมโยงกันเพื่อส่งเสริมองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงและการบริหารจัดการบุคลากรอย่างยั่งยืน ด้วยการบูรณาการพื้นฐานด้านความยั่งยืนเข้ากับการบริหารจัดการบุคลากรในทุกด้าน บริษัทมุ่งสนับสนุนให้พนักงานขับเคลื่อนนวัตกรรมและรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ สิ่งสำคัญของกลยุทธ์นี้คือการมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ผ่านการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาบุคลากร การดำเนินงานด้านความยั่งยืน และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเทคโนโลยี/ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาปรับใช้ในกระบวนการทำงานประจำวันของพนักงานได้อย่างผสมผสาน อีกทั้งยังช่วยจัดการความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและส่งเสริมนวัตกรรมซึ่งจะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ จึงไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงและทำให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานและชุมชนโดยรอบที่เราให้บริการอีกด้วย

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการดำเนินกลยุทธ์ด้านอื่นๆ อาทิเช่น Healthy Organization การสรรหาพนักงานผู้มีศักยภาพสูงอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความแข็งแกร่งด้านการบริหารพนักงานผู้มีศักยภาพสูง กลยุทธ์การให้รางวัลที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่มีคุณค่าและมีส่วนร่วม โดยผนวกรวมกับองค์ประกอบการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลที่ยั่งยืนไว้ด้วยกัน โครงการริเริ่มเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพนักงานต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

People Strategic Focus

  • Healthy Organization: การรักษาสมดุลที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงขนาดและองค์ประกอบขององค์กรเพื่อสนับสนุนทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูงและยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย
  • การสรรหาพนักงานผู้มีศักยภาพสูงอย่างมีประสิทธิภาพ: การทำให้องค์กรกลายเป็นนายจ้างที่ "อยู่ในใจของทุกคน" และนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาเส้นทางการสรรหาบุคลากร
  • การสร้างความแข็งแกร่งด้านการบริหารพนักงานผู้มีศักยภาพสูง: การวางแผนสืบทอดตำแหน่งงานและส่งเสริมการเติบโตภายในองค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและไม่หยุดชะงัก
  • การยกระดับมาตรฐานการพัฒนาบุคลากร: การยกระดับทักษะและการเพิ่มทักษะใหม่ให้กับพนักงานผ่านโปรแกรมระดับแนวหน้า โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านความยั่งยืนตามกรอบของ ESG การพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาทักษะในอนาคต รวมถึงด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI)
  • กลยุทธ์การให้รางวัลที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน: การให้ความสำคัญต่อความสมดุลระหว่างค่าตอบแทนที่แข่งขันได้ในตลาด และความสามารถในการจ่ายของบริษัท รวมถึงการดูแลภาพรวมด้านผลประโยชน์เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ซึ่งครอบคลุมการบูรณาการชีวิตการทำงาน และมีความยืดหยุ่นในการทำงาน
  • การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่มีคุณค่าและมีส่วนร่วม: การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวกที่เปิดรับความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก ทำให้เป็นสถานที่ที่ทำให้ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า
  • การเพิ่มประสิทธิภาพด้านเทคโนโลยี/ปัญญาประดิษฐ์ (AI): การขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านการนำเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ พร้อมเสริมสร้างขีดความสามารถในทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงาน
  • การดำเนินงานด้านความยั่งยืน: เพื่อให้แน่ใจว่าทางรอดของบริษัท ต้องอาศัยกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลในระยะยาว และเสริมสร้างแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของการพัฒนาด้านความยั่งยืนตามกรอบ ESG ไปสู่พนักงานทุกคน

ด้วยการดำเนินการอย่างเอาใจใส่และยึดมั่นในกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทไม่เพียงจะสามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและส่งมอบการเติบโตที่ยั่งยืนเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้าง “A Great Place to Work” เพื่อ “Winning Team” ที่พร้อมมุ่งสู่ชัยชนะไปด้วยกัน อีกด้วย

เพื่อให้มีการฝึกอบรมที่ครอบคลุมสำหรับพนักงานที่ทำงานใน 6 สายงานหลักด้านล่าง เซ็นทรัล รีเทล จึงได้พัฒนาแผนการฝึกอบรมเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาต่างๆ เวิร์กช็อป และแบบฝึกภาคปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับกรณีศึกษาจริงและโครงการให้คำปรึกษา ที่เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละหน่วยงาน จากนั้นจึงกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนการฝึกอบรมที่สามารถวัดผลได้ โดยปัจจุบัน เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมกว่า 50 โปรแกรม ที่มีจำนวนมากกว่า 200 หลักสูตร ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันระหว่างสายงาน โดยแผนงานการฝึกอบรมได้เปิดตัวในปี 2566 เฉพาะสำหรับพนักงานที่ทำงานในภาคธุรกิจอาหารเป็นโครงการนำร่อง และเซ็นทรัล รีเทล มีแผนที่จะขยายขอบเขตของแผนการฝึกอบรมให้ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ในปี 2567

การบริหารผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

เซ็นทรัล รีเทล ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะและความสำเร็จของพนักงานผ่านการบริหารผลปฏิบัติงานของพนักงาน โดยกระบวนการดังกล่าวครอบคลุมพนักงานทุกคนและมีการประเมินผลงานพนักงานเป็นรายปี ก่อนเริ่มต้นในการประเมินแต่ละครั้ง พนักงานจะระบุเป้าหมายของตนเองให้สอดคล้องกับเป้าหมายของทีมและแผนงานขององค์กร โดยในช่วงกลางปี หัวหน้างานจะทำการพูดคุยกับพนักงานเป็นลักษณะรายบุคคล เกี่ยวกับความคืบหน้า การสนับสนุนที่พนักงานต้องการเพิ่มเติม และโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน ในช่วงปลายปี พนักงานจะได้รับการประเมินผลงาน เพื่อวัดผลการปฏิบัติงาน ความสำเร็จ และประเด็นที่ควรพัฒนาปรับปรุงตลอดทั้งปีของพนักงาน โดยเป็นการประเมินแบบละเอียดและมีประโยชน์จริง เพื่อให้พนักงานสามารถเล็งเห็นประเด็นความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่และสร้างโอกาสที่จะเติบโตในสายงาน โดยสรุป พนักงานจะได้รับการทบทวนผลงานของตนเองอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งตามแนวทางผสมผสาน ดังนี้

ในการจัดทำโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพพนักงาน เซ็นทรัล รีเทล ได้มีการวิเคราะห์ผลงานพนักงานเพื่อระบุว่าพนักงานยังขาดทักษะในส่วนใดในการดำเนินงานเพื่อบรรลุตามเป้าหมายขององค์กร ทั้งนี้ โครงการได้กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถประเมินประสิทธิผลและคุณค่าของการอบรมได้อย่างเป็นรูปธรรม

นโยบายการพัฒนาบุคลากร

โครงการสำคัญ

การพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต

เซ็นทรัล รีเทล มุ่งเน้นส่งเสริมทักษะการเปลี่ยนผ่านเพื่อเตรียมความพร้อมของพนักงานสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ด้วยโปรแกรมการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตที่ได้ออกแบบให้มีความยืดหยุ่น ประกอบด้วยการฝึกอบรมทั่วไป เช่น ความรู้ด้านดิจิทัล เครื่องมือและการวิเคราะห์ข้อมูล การทำงานตามแนวทาง Agile เป็นต้น สำหรับพนักงานโดยทั่วไป การฝึกอบรมที่จัดทำพิเศษสำหรับพนักงานในสายงานที่ต้องการทักษะเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรมนุษย์ แนวคิดดิจิทัลการตลาดดิจิทัล และการค้าเพื่อสังคม ฯลฯ โดยในปี 2566 มีพนักงานมากกว่า 24,000 คน เข้าร่วมในโครงการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตผ่านการฝึกอบรมกลุ่มและหลักสูตรการเรียนรู้ด้วยตนเอง 25 รายการ ผลหลังการฝึกอบรมบ่งชี้ถึงความพึงพอใจของพนักงานในระดับสูง โดยมีคะแนน Net Promoter Score (NPS) มากกว่าร้อยละ 75 และมีความเต็มใจอย่างยิ่งที่จะแนะนำโปรแกรมการพัฒนาทักษะในอนาคตให้กับผู้อื่น

การอบรมหลักสูตร How to be an Impactful Influencer

หลักสูตร ‘How to be an Impactful Influencer’ ได้รับการออกแบบมาเพื่อยกระดับทักษะการสื่อสารและการตลาดแนวอินฟลูเอนเซอร์ของพนักงาน จึงอยู่ในรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบอินเตอร์แอคทีฟ การสวมบทบาทสมมติ การเรียนรู้จากกรณีศึกษา และหลักสูตรอบรมออนไลน์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หลักสูตรนี้ช่วยสนับสนุนกลยุทธ์ของเซ็นทรัล รีเทล ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์และความเชื่อมั่นของลูกค้าผ่านการตลาดแนวอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายและความภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้าด้วย

แค็ตตาล็อกหลักสูตรอบรม CRC

CRC Academy ได้จัดทำ ‘แค็ตตาล็อกหลักสูตรอบรม” พร้อมหลักสูตรใหม่ตามแนวคิดการเรียนรู้ 10 รูปแบบ โดยแค็ตตาล็อกดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือการสื่อสารสำคัญที่ช่วยให้ทั้งผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานต่าง ๆ ทราบถึงแนวทางการอบรมประจำปี และสามารถคัดเลือกหลักสูตรตามความต้องการเฉพาะบุคคลของพนักงานแต่ละคนได้ โดยตัดทิ้งแค็ตตาล็อกได้ถูกใช้โดยพนักงานตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงผู้บริหารระดับสูง และปัจจุบัน แค็ตตาล็อกได้ครอบคลุม 130 หลักสูตร โดยมีการจัดอบรมมากถึง 105 คอร์ส และจัดการเรียนกว่า 487 ครั้ง ให้กับพนักงานมากกว่า 2,800 คน

แค็ตตาล็อกหลักสูตรอบรมได้รับการปรับปรุงให้เข้ากับลักษณะงานและใช้งานได้จริง จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อพนักงานทุกระดับชั้น อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และสร้างเสริมสมรรถนะหลักที่เซ็นทรัล รีเทล ต้องการ โดยทุกหน่วยงานจะได้รับข้อมูลการอบรมอย่างละเอียด ตั้งแต่เนื้อหา รูปแบบการอบรม และงบประมาณ ทั้งนี้ แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ครอบคลุมจะช่วยยกระดับความสามารถของสายงานและพนักงาน ให้วางแผนและจัดการการเรียนรู้สำหรับทั้งพนักงานและทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งปี โดยคะแนนความพึงพอใจและ Net Promoter Score สูงกว่าร้อยละ 80 และร้อยละ 70 ตามลำดับ รวมถึงยกระดับประสิทธิภาพในการพัฒนาศักยภาพพนักงานของเซ็นทรัล รีเทล จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากรได้มากถึง 100 ล้านบาทต่อปี

การอบรมหลักสูตร Leader as Coach

หลักสูตร “Leader as Coach” ได้รับการออกแบบมาเพื่อยกระดับความสามารถและความเข้าใจของพนักงานด้านทักษะการเป็นผู้นำและโค้ช ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะปลูกฝังทัศนคติที่เปิดกว้างการรับฟังผู้อื่น ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม และสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างทีมทำงานที่สร้างประสิทธิผลได้มากขึ้น ทั้งนี้ หลักสูตรจัดกิจกรรมการอบรมในรูปแบบจำลองการเป็นโค้ช การฝึกโค้ชเพื่อนร่วมงานระดับเดียวกัน และการแบ่งปันทักษะการเป็นผู้นำระหว่างพนักงานในตำแหน่งบริหาร นอกจากนี้ ยังรวมเอาสถานการณ์การฝึกสอนที่เน้นเรื่องแนวทางความยั่งยืนร่วมด้วย โครงการฝึกอบรมนี้ช่วยให้เซ็นทรัล รีเทล ลดต้นทุนการจ้างบุคคลภายนอกเพื่อมาทำการฝึกอบรมได้ 7 ล้านบาทต่อปี

การอบรมด้านความปลอดภัย

การอบรบด้านความปลอดภัยถือเป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาการอบรมความปลอดภัยภายในองค์กรอย่างครบถ้วน ได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมศักยภาพของพนักงานที่เกี่ยวข้องให้พร้อมทำหน้าที่ “ผู้อบรมด้านความปลอดภัยของเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น” และพร้อมขอรับใบอนุญาตทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาชีวอนามัยและความปลอดภัยภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังจัดอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงานทั่วไปในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • อาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน และสิ่งแวดล้อมสำหรับพนักงานทั่วไปและพนักงานใหม่
  • คณะกรรมการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงานและสิ่งแวดล้อมของสถานที่ทำงาน
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับผู้บริหาร
  • อบรมขับขี่รถยกอย่างปลอดภัย

ในปี 2566 มีพนักงานทุกระดับเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการความปลอดภัยจำนวน 4,908 คน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากรและการจัดจ้างผู้อบรมภายนอกของเซ็นทรัล รีเทลได้ 9.3 ล้านบาท

เรื่องราวของเรา